ใบกระท่อมพืชที่ถูกจัดให้เป็นพืชเสพติด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2486 และถูกควบคุมเรื่อยมา นาน จนถึง พ.ศ 2564 ได้มี พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 8 และมีการประกาศจากกระทรวงสาธารณสุข ได้มีการยกเลิกพืชกระท่อมจากการเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 และมีผลบังคับใช้ทันทีเริ่มตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2564 เป็นต้นไป และเมื่อปลดล็อคแล้ว ผู้คนต่างก็พากันให้ความสนใจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะวงการคนเป็นเบาหวานที่ มีข่าวจากคุณหมอว่าใบกระท่อมแก้เบาหวานได้อ่านเพิ่มเติมและนอกเหนือจากใบกระท่อมจะแก้เบาหวานได้แล้วนั้น ใบกระท่อมยังมีสรรพคุณอีกมากมาย ที่มีทั้งอันตราย และ ดีต่อร่างกาย ถ้าใช้ถูกวิธี แต่วันนี้ชีวาจะพาทุกคนไปดูว่า กระท่อม สามารถลดความอ้วนได้ จริงหรือไม่
ใบกระท่อม ลดความอ้วน ได้จริง เหรอ ?
ใบกระท่อม ลดความอ้วน กระแสที่กำลังมาแรงรองลงมาจากกระท่อมลดเบาหวาน ในขณะนี้ ชีวาเบนได้มีการไปลองหาข้อมูลมาจากหลายๆแหล่ง ทั้งในและต่างประประเทศ ได้ข้อสรุปว่า ใบกระท่อมไม่ได้ช่วยลดความอ้วนโดยตรงแต่เป็นการลดควาามอ้วนทางอ้อม ทางอ้อมที่ว่า หมายถึง เมื่อกินกระท่อมเข้าไป กระท่อมจะทำให้ไม่อยากอาหาร รู้สึกกระปรี้กระเปร่า กดความรู้สึกเมื่อล้าขณะทำงานได้ เลยทำให้อยากใช้พลังงาน ทำสิ่งต่างๆ หลังจากเคี้ยวใบกระท่อม
ซึ่งมีกรณีศึกษาจาก Pantip ที่มีการเคี้ยวใบกระท่อมเพื่อที่จะอดอาหาร ซึ่งการอดอาหารทำให้ผอมลงอยู่แล้ว แต่การอดอาหารส่งผลเสียต่อร่างกายเป็นอย่างมาก ทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว และการที่ผอมเร็วเกินไป ร่างกายจะปรับตัวไม่ทัน ทำให้มีการโยโย่ตามร่างกาย โดยเฉพาะช่วงท้อง และที่สำคัญไปกว่านั้น เมื่อเลิกเคี้ยวใบกระท่อมจะทำให้กลับมากินเยอะกว่าเดิม และอ้วนกว่าเดิมนั่นเอง
ประโยชน์ของใบกระท่อมในด้านอื่นๆ
อาหาร สมุนไพรต่างๆ ถ้าเกิดกินในปริมาณที่พอเหมาะ จะทำให้ร่างกายแข็งแรง แต่เมื่อใดที่กินจนเกินปริมาณที่ร่างกายจะรับไหว เมื่อนั้นจะเกิดผลเสียต่อร่างกายต่างๆนาๆ การกินแต่พอดีจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด หรือกินอาหารให้เป็นยา ดีกว่ากินยาให้เป็นอาหาร สำหรับใบกระท่อมนั้่นเภสัชแนะนำว่าไม่ควรกินเกินวันละ 3 ใบ เพื่อความปลอดภัยต่อตัวคุณเอง และไม่ควรกินติดต่อกันเป็นเวลานานๆ เพราะอาจจะเกิดการเสพติดใบกระท่อมได้ ประโยชน์จากการใช้กระท่อมแต่พอดี มีอะไรบ้าง ไปดูกัน
- เพิ่มระดับพลังงานในร่างกาย
- นอนหลับง่ายขึ้น
- คลายวิตกกังวล
- ทำให้มีสามาธิมากขึ้น
- เพิ่มการไหลเวียนโลหิต
- ทำให้กระปรี้กระเปร่า
- ไม่หิวง่าย
- บรรเทาอาการปวดเรื้อรัง
- แก้ท้องผูก
- แก้เบาหวาน
- ลดการหลั่งกรดในกระเพาะ
โทษของใบกระท่อม
เมื่อติดใบกระท่อมแล้วส่วนใหญ่ ไม่สามารถที่จะเลิกได้ เนื่องจากการติดกระท่อมมีอาการแบบเรื้อรังตั้งแต่วันแรกๆที่เริ่มหยุดใบกระท่อม และยังไม่มีวิธีที่จะรักษาอาการติดกระท่อมได้เลย มีแค่การลดปริมาณการใช้ลง การจะใช้กระท่อมควรใช้ในปริมาณที่พอเหมาพพอควรจะดีที่สุด แต่เมื่อเกิดติด หรือใช้ไปนานๆ อาจะเกิดอาการเหล่านี้ตามมาก็เป็นได้
- ผิวหนังแดง เพราะเลือดไปเลี้ยงผิวมากจนเกินไป
- ปากแห้ง
- ปัสสาวะบ่อย
- เบื่ออาหาร
- ท้องผูก
- อุจจาระแข็ง
- นอนไม่หลับ
- คลื่นไส้
- อาเจียน
- วิตกกังวล
- หัวใจเต้นเร็ว
- แพ้แสง
- ประสาทหลอน
- ซึม เคลื่อนไหวช้า
- ร่าเริงผิดปกติ
- ปัสสาวะมีสีเข้ม เนอื่จากไตเกิดความเสียหาย
ใครที่ไม่ควรกินใบกระท่อม
- ติดสุราเรื้อรัง
- เป็นโรคหัวใจ
- มีความผิดปกติทางจิตใจ
- คนท้องและกำลังให้นมบุตร
วิธีเก็บรักษาใบกระท่อม
- (เก็บรักษาได้ประมาณ 2 อาทิตย์) เก็บจากต้นช่วงเช้า หรือ เย็น โดยยังไม่ต้องล้าง นำมาวางไว้กระจายกัน เพื่อให้ลมผ่าน พอให้น้ำออกจากใบ นำใบกระท่อมใส่ตะกร้า โดยเอาขั้วใบลง และไม่ควรอัดแน่นเกินไป แล้วนำถุงมาห่อ มัดถุงโดยในข้างในมีอากาศ
- (เก็บรักษาได้ประมาณ 2 อาทิตย์) คัดใบกระท่อมที่เสียออก นำน้ำใส่ถุงนิดหน่อยจากนั้นนำใบกระท่อมใส่ถุงโดนการเอาก้านลงแช่น้ำ มัดถุง นำใส่กระติกไว้
- (เก็บรักษาได้ประมาณ 2 อาทิตย์) นำใบตอง และใบกระท่อม ไปล้างให้สะอาด แล้วสะบัดน้ำทิ้ง นำไปใช้เช็ดด้วยกระดาษทิชชู หรือผ้าที่สอาด โดยเลี่ยงการจับบริเวณใบ จากนั้นนำใบตองมาห่อใบกระท่อม ก่อนนำใส่ถุงพลาสติกอีกชั้น นำไปเก็บไว้ในที่มิดชิด
- (เก็บรักษาได้ประมาณ 2 อาทิตย์) นำใบกระท่อมใส่ถุง หรือกล่อง โดยเอาก้านลง ปิดให้มิดชิด แล้วนำใส่ตู้เย็น
วิธีกินใบกระท่อมที่ถูกต้อง
โดยทั่วไปจะใช้วิธีรูดก้านออก เอาแต่ใบล้วน เคี้ยวจนจืด และคาย ไม่ควรกลืนเพราะเส้นใยของใบกระท่อมไม่สามารถย่อยได้ อาจทำให้ท้องผูกและลำไส้อุดตันได้ แต่ก็มีนำไปต้มกับสมุนไพรอื่นๆเพื่อรักษาโรคต่างๆ โดยการเอากระท่อมไปรักษาโรคอื่นๆ ตามไปอ่านได้ที่นี่ คลิกๆ
โรคอ้วน ถ้าไม่รีบลดอาจนำไปสู่โรคเบาหวาน
โรคอ้วนนับเป็นปัญหาสุขภาพระดับโรค ซึ่งทางองค์กรนามัยโลก (WHO) ได้คาดการว่าในปี 2558 จะมีคนน้ำหนักเกินมาตรฐานถึง 2,300 คน ทั่วโลก ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเสี่ยงที่จะเป็นโรคเรื้อรังอื่นๆ เช่น โรคความดัน โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ส่งผลให้ในแต่ละปี มีผู้ที่เสียชีวิตจากโรคเรื้อรังนี้กว่า 2.8 ล้านคน ฉนั้น ควรเช็คตัวเองว่าเป็นเบาหวานหรือเปล่า เพราะถ้าเป็นขึ้นมารักษาไม่หายขาด ต้องรักษาไปตลอดชีวิตเลยทีเดียว อ่านเพิ่มเติมผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ชีวาชนิดแคปซูล
ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการสกัด จากสมุนไพรหลักๆ 2 ชนิด ได้แก่ ผักเชียงดา และ อบเชย ด้วยคุณสมบัติ เหมาะสำหรับ ผู้ที่มีปัญหา ความดัน เบาหวาน (ระดับน้ำตาลในเลือดสูง) ไขมัน คลอเรสรอล หรือผู้ที่สนใจดูแลสุขภาพป้องกันปัญหาหาสุขภาพตามมา เป็นส่วนผสมจากผักธรรมชาติ ผ่านกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน จึงไม่เป็นอันตราย ไม่มีผลต่อตับไต