ใบกระท่อมแก้เบาหวาน ตำรับยาพื้นบ้าน อันตรายถ้าใช้ผิดวิธี

ใบกระท่อมแก้เบาหวาน ตำรับยาพื้นบ้าน อันตรายถ้าใช้ผิดวิธี

สารบัญเนื้อหา

กระท่อม คืออะไร ?

กระท่อม คือไม้ยืนต้นที่จัดอยู่ในตระกูล Mittrgyna specioosa มีขนาดใหญ่ปานกลาง และมีแก่นเนื้อแข็ง มีความสูงอยู่ที่ 10-15 เมตร ส่วนใบมีความคล้ายใบกระดังงา มีทั้งชนิดก้านใบเขียวและใบแดง กระท่อม เป็นต้นไม้ที่อยู่ในเขตร้อน มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีสารประกอบที่ส่งผลทางจิตใจ และเมื่อเคี้ยวใบกระท่อมประมาณ 5-10 นาที จะมีอาการ มีความสุข ไม่หิว กระปรี้กระเปร่า ทำให้ทำงานได้นานยิ่งขึ้น การเสพใบกระท่อมมากๆ หรือเสพเป็นระยะเวลานานๆ มักจะเกิดการเปลี่ยนแปลงของเม็ดสีบริเวณผิวหนัง ทำให้ผิวคล้ำและเข้มขึ้น และบางรายที่เสพติดหนักๆ อาจเกิดอาการโรคจิต หวาดระแวง เห็นภาพหลอน พูดไม่รู้เรื่องได้

ใบกระท่อมแก้เบาหวาน ตำรับยาพื้นบ้าน

ใบกระท่อมแก้เบาหวาน ตำรับยาพื้นบ้าน 

ใบกระท่อมแก้เบาหวาน เป็นตำรับยาพื้นบ้านที่มีมาแต่โบราณ โดยมีการเอามาปรุงเป็นตำรับยา ส่วนใหญ่จะใช้แก้ท้องเสีย โดยการใช้พื้นบ้าน มีการเอากระท่อมมาเคี้ยว เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสดชื่น กระปรี้กระเปร่า และยังมีการทำไปแก้ปวด รวมไปถึงลดเบาหวาน ความดัน โดยนพ.ขวัญชัย วิศิษฐานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันการแพทย์แผนไทย ได้ระบุไว้เกี่ยวกับใบกระท่อมในการแก้เบาหวาน

การวิจัยใบกระท่อมในห้องทดลอง

จากการวิจัยใบกระท่อมในห้องทดลอง พบว่า กระท่อมมีสรรพคุณเหมือนสมุนไพรตัวอื่นๆ มีฤทธิ์ต้านการอักเสบในลำใส้ ช่วยลดอาการท้องเสียเป็นหลัก และยังช่วยต้านสารอนุมูลอิสระ ได้อีกด้วย

ใบกระท่อมกินยังไง ?

นิยมนำมาเคี้ยว หรือต้มกับสมุนไพรอื่นๆ เพื่อลดอาการท้องผูก ในคนที่ไม่รู้ว่าใบกระท่อมกินยังไง นั้นผลที่ตามมาคือ ลำไส้อุดตัน เวียนหัว การกินใบกระท่อมห้ามกลืนเด็ดขาด เพราะกระท่อมมีเส้นใยที่มีความทนทาน และเหนียวมาก และไม่สามารถย่อยได้ การทานควรเป็นการรูดเอาใบมาเคี้ยวจนจืดและคายทิ้ง ถ้ากลืน เส้นใยจะไปรวมกันลำไส้ ทำให้ลำไส้อุดตันได้

ใบกระท่อม สรรพคุณอะไร แก้อะไรได้บ้าง

หลักๆแล้ว ใบกระท่อม สรรพคุณ จะช่วยเกี่ยวกับเรื่องของลำใส้เป็นหลัก แต่ก็ยังช่วยเรื่องอื่นๆได้ด้วยอย่างเช่น เบาหวาน ความดัน แก้ปวดเมื่อย แก้ไอ บ้างก็ใช้เพื่อขับพยาธิออกจากร่างกาย แต่การใช้ใบกระท่อมนั้น ไม่ใช่ว่าอยากใช้เท่าไหร่ก็ได้ และใช้นานแค่ไหนก็ได้ เพราะการใช้อะไรมากไปไม่เคยส่งผลดีต่อร่างกายนัก ฉนั้นมาดูว่าแต่ละอาการควรใช้ปริมาณเท่าไหร่

1.การใช้ใบกระท่อมแก้เบาหวาน

  • สูตรที่ 1 ต้มใบกระท่อม อินทนินน้ำ กระเทียมต้น กระเทียมเถา ต้มจนได้ที่ ดื่ม
  • สูตรที่ 2 ต้มกระท่อมทั้ง 5 (รากเนื้อ ต้นขนาดเล็ก เปลือก ใบ และกิ่ง) สับทั้งหมดใส่หม้อ ต้มจนได้ที่ ใช้ทาน 3-5 ช้อนแกง ต่อครั้ง เช้า-เย็น
  • สูตรที่ 3 ต้มใบกระท่อม หญ้าหนวดแมว ไม้ค้อนตีนหมา โดยสัดส่วนเท่าๆกัน ต้มน้ำ 3 เอา 1 ดื้มครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ เช้า-เย็น
  • สูตรที่ 4 เคี้ยวใบกระท่อม โดยเคี้ยววันละ 1 ใบ เป็นเวลา 41 วัน (เคี้ยวจนจืดและคายทิ้ง ห้ามกลืนใบเพราะจะทำให้ลำไส้อุดตัน)

2.การใช้กระท่อมแก้อาการปวดท้อง ท้องร่วง

  • สูตรที่ 1. เคี้ยวใบกระท่อมจนจืด คายเศษทิ้งและกินน้ำตาม (ห้ามกลืนใบเพราจะทำให้ลำไส้อุดตัน)
  • สูตรที่ 2. ต้มใบกระท่อม เกลือ น้ำตาลทรายแดง และดื่ม เพื่อแก้ปปวดท้อง
  • สูตรที่ 3. ต้มต้นกระท่อม เปลือกต้นสะเดา เปลือกต้นมะขาม อย่างละ 50 กรัม หัวขมิ้นชันแก่ หัวกระทือแก่ อย่างละ 1 หัว และเผาให้สุกก่อน ต้มรวมกันกับน้ำปูนใส น้ำเปล่า อย่างละเท่าๆกัน ดื่ม ครั้งละ 2-3 ช้อนแกง และหยุดดื่ม เมื่อหาย (ไม่ควรดื่มเป็นเวลานานเพราะจะทำให้เสพติด)

สมุนไพรลดเบาหวาน ชีวา ชนิดแคปซูล

ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการสกัด จากสมุนไพรหลักๆ 2 ชนิด ได้แก่ ผักเชียงดา และ อบเชยด้วยคุณสมบัติ เหมาะสำหรับ ผู้ที่มีปัญหา ความดัน เบาหวาน (ระดับน้ำตาลในเลือดสูง) ไขมัน คลอเรสรอล หรือผู้ที่สนใจดูแลสุขภาพป้องกันปัญหาหาสุขภาพตามมา อ่านเพิ่มเติม

3.การใช้กระท่อมแก้ไอ

  • สูตรที่ 1. ต้มใบสด 1-2 ใบกับน้ำตาลทรายแดง และดื่ม
  • สูตรที่ 2. เคี้ยวใบสดจนจืด และคายกาก ดื่มน้ำตามเยอะๆ (ห้ามกลืนใบเพราจะทำให้ลำไส้อุดตัน)

4.การใช้กระท่อมขับพยาธิ

  • สูตร ใช้ใบกระท่อมสดขยี้กับปูนที่ใช้กินกับหมาก ทาบริเวรท้อง

5.การใช้กระท่อมแก้ปวดเมื่อย

  • สูตร เถาวัลย์เปรียง มะคำไก่ มะแว้งต้น มะแว้งเครือ เถาโคคลาน เถาสังวาล พระอินทร์ หญ้าหนู ต้นผักเสี้ยนผี แก่นขี้เหล็ก ใบมะกา อย่างละ 1 ส่วน เนื้อฝัก ราชพฤกษ์ 5 ฝัก ใบกระท่อม 2 ส่วน เถากำแพงเจ็ดชั้น 3 ส่วน ต้มจนได้ที่ ดื่มครั้งละครึ่งถ้วยกาแฟ ก่อนอาหารเช้า-เย็น

ปกติแล้ว การเคี้ยวใบกระท่อมจะทำให้ท้องผูก เลยมีการแก้ด้วยการใช้ร่วมกับสมุนไพรอื่นๆที่มีคุณสมบัติระบายท้องอื่นๆร่วมด้วย และอาการเวียนหัว ให้ดื่มน้ำเยอะๆ เพื่อลดอาการ

ผลข้างเคียงของกระท่อม

สมุนไพร อาหาร วิตามิน และของที่กินเข้าสู่ร่างกายต่างๆนาๆ ถ้ากินแต่พอดี ส่งผลน้อยมากต่อร่างกาย แต่เมื่อไหร่ที่กินเยอะเกินไป นั่นคือเริ่มไม่ดีต่อร่างกายแล้ว กระท่อมก็เช่นกัน นพ.ขวัญชัย วิศิษฐานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันการแพทย์แผนไทย ได้กล่าวว่า (การดื่มกระท่อมไม่มีอะไรต้องเป็นห่วง เหมือนกับการดื่มกาแฟทั่วไป ถ้าเกิดใช้แต่พอดี )
แต่ถ้าเกิดใช้มาก หรือนานเกินไปผิวหนังจะแดงเพราะเลือดไปเลี้ยงผิวหนังมากจนเกินไป และ ปากแห้ง ปัสสาวะบ่อย เบื่ออาหาร ท้องผูก อุจจาระแข็ง เป็นก้อนเล็กๆ นอนไม่หลับ และถ้ายิ่งใช้มากจนเกินไป จะทำให้คลื่นไส้ อาเจียน (อาการเมากระท่อม) บางรายแค่ 3 ใบก็สามารถเมาได้
การกลืนใบกระท่อมจะทำให้ลำไส้อุดตันเนื่องจาก เส้นใยใบกระท่อมมีความเหนียวและไม่สามารถย่อยได้

อาการลงแดง ใบกระท่อม หรือ อาการถอนกระท่อม

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 โรงพยาบาลตะกั่วป่ามีจำนวนผู้ป่วยที่เสพติดกระท่อมแล้วได้รับผลกระทบต่อสุขภาพกาย และสุขภาพจิต รวมถึงปัญหาสังคมที่เพิ่มมากขึ้น โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่สามารถหยุดใช้กระท่อมได้ เนื่องจากไม่สามารถทนต่อความทรมานของอาการถอนกระท่อม จากการศึกษาพบว่า อาการถอนกระท่อมที่ทำให้เกิดความทุกข์ทรมารมากที่สุด คืออาการปวดเมื่อกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อ ถึงร้อยละ 91.2 สอดคล้องกับการศึกษาในประเทศมาเลเซียที่พบความชุกของอาการปวดเมื่อยมากที่สุด และผู้ป่วยที่มีการถอนกระท่อมมีอาการมากกว่า 1 อาการร่วมด้วย ในประเทศมาเลเซีย พบว่าผู้เสพติดกระท่อมหลายคน ไม่สามารถเลิกได้เนื่องมีอาการเรื้อรังตั้งแต่วันแรกๆที่หยุดใช้กระท่อม และในประเทศไทยพบผู้ที่พยายามเลิกใช้กระท่อมทรมานมากจนทนไม่ไหว และกลับมาใช้กระท่อมอีกครั้ง ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีการรักษาที่ได้รับการยืนยันสำหรับการถอนกระท่อม เพราะส่วนใหญ่ทนไม่ไหว จนกลับมาใช้ซ้ำ การรักษาเลยเป็นแค่การลดปริมาณลง เพื่อลดความทุกข์ทรมานของอาการถอนกระท่อมให้น้อยที่สุดนั่นเอง ฉนั้นแล้ว จะใช้กระท่อม ควรกำหนดปริมาณพอดี และไม่ควรใช้เป็นเวลานาน

กฎหมาย ใบกระท่อม

เป็นที่รู้ๆกันอยู่แล้วในประเทศไทยว่า กระท่อมนั้นผิดกฏหมายในประเทศไทยแต่ นานาชาติ ไม่มีประเทศไหนเลยที่ให้กระท่อมผิดกฏหมาย

เริ่มควบคุมใบกระท่อม

กระท่อมผิดกฏหมายตั้งแต่ปี พ.ศ.2486 ที่ประเทศไทยได้ประกาศควบคุมการใช้พืชกระท่อม โดยพระราชบัญญัติ พืชกระท่อมระบุไว้ว่า ห้ามปลูกและครอบครอง รวมทั้งห้ามจำหน่ายและเสพใบกระท่อม

ใบกระท่อมถูกจัดเป็นพืชเสพติดประเภทที่ 5

ในปี พ.ศ. 2522 กระท่อม ได้ถูกจัดเป็นพืชเสพติดในโทษ ประเภทที่ 5 ในประเทศไทย

ปลดล็อคกฏหมายใบกระท่อม

ปี พ.ศ. 2564 มีพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2564 และประกาศจากกระทรวงสาธารณสุข เรื่องระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564 ได้มีการยกเลิกพืชกระท่อมจากการเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 มีผลบังคับใช้ทันที ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2564 เป็นต้นไป

ซึ่งนั่นหมายความว่า พืชกระท่อมจะไม่เป็นยาเสพติดให้โทษอีกต่อไป แต่ถึงอย่างนั้น กระทรวงยุติธรรมก็ได้มีการยกร่างพระราชบัญญัติพืชกระท่อม เพื่อควบคุมพืชกระท่อมเป็ฯการเฉพาะ ซึ่งขณะนี้อยู่ในระกว่างพิจารณาของวุฒิสภา

ทั้งนี้ทั้งนั้น ผู้ที่จะนำกระท่อมมาแปรรูป หรือนำมาใช้เป็นวัตถุดิบ หรือส่วนประกอบ ต้องดำเนินการตามกฏหมายที่เกี่ยวด้วย

อ่านบทความ ใบกระท่อมแก้เบาหวาน ไปแล้ว  รู้หรือเปล่าว่าเบาหวาน คืออะไร ?

เบาหวาน คือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ร่างกายในกระบวนการเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงาน ซึ่งกระบวนการนี้เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของฮอร์โมนที่ชื่อว่า อินซูลิน (Insulin) ที่สร้างจากตับอ่อน เพื่อนำน้ำตาลในกระแสเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆของร่างกาย โดยเฉพาะกล้ามเนื้อ และสมอง ในภาวะที่อินซูลินมีความผิดปกติ ทั้งภาวะลดลงของปริมาณอินซูลินในร่างกาย หรือ อวัยยะต่างๆ ของร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินน้อยลง หรือ ภาวะดื้ออินซูลิน อ่านเพิ่มเติม

คอมเมนต์

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ