เวียนหัว คลื่นไส้ พะอืดพะอม บ้าน หมุน สาเหตุและการป้องกัน

เวียนหัว คลื่นไส้ พะอืดพะอม บ้าน หมุน สาเหตุและการป้องกัน

สารบัญเนื้อหา

บ้านหมุน คืออะไร

บ้านหมุน (Vertigo) คือ อาการอย่างหนึ่งที่มักพบบ่อยในผู้สูงอายุ ซึ่งลักษณะของอาการที่เรียกว่าบ้านหมุนนั้น แท้จริงแล้วเป็นคำเปรียบเปรยซึ่งมีสาเหตุมาจากอาการที่ผู้ป่วยรู้สึกว่าเหมือนตัวเองกำลังหมุน หรือสิ่งแวดล้อมรอบตัวหมุนได้ ทั้งๆที่กำลังยืนหรือนั่งอยู่กับที่ มักพบบ่อยในผู้สูงอายุ ผลกระทบคือในระหว่างนั้นจะไม่สามารถเคลื่อนไหวหรือทำกิจกรรมต่างๆได้ตามปกติ
อันที่จริงแล้ว อาการบ้านหมุนเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน และสาเหตุที่มักเป็นกับผู้สูงอายุนั้นก็เป็นไปตามความเสื่อมสภาพของระบบการทำงานภายในร่างกาย ส่วนใหญ่แล้วเป็นอาการที่ไม่รุนแรงนัก มักเกิดขึ้นเป็นๆหายๆ แต่จะส่งผลกระทบต่อการทรงตัวที่ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เพราะจะทำให้ไม่สามารถควบคุมร่างกายตนเองได้
อย่างไรก็ตาม หากมีอาการบ่อยครั้ง เช่น เป็นมากกว่า 1 ครั้งภายใน 1 สัปดาห์หรือภายใน 1 เดือน ถือว่าเป็นสัญญาณที่ไม่ดีนัก อีกทั้งหากเป็นบ่อยครั้ง โดยเฉพาะในระหว่างกำลังทำกิจกรรมบางอย่างเช่น ขับรถ เดินขึ้นลงบันได ระหว่างเดินทาง ออกกำลังกาย หรือระหว่างอยู่เพียงลำพังในบ้าน ก็อาจจะเสี่ยงอันตรายถึงชีวิตได้

เวียนหัว คลื่นไส้ พะอืดพะอม บ้าน หมุน

โดยทั่วไปแล้ว ทางการแพทย์จะระบุอาการดังกล่าวเมื่อผู้ป่วยมีอาการรู้สึกว่าสภาพแวดล้อมและสิ่งต่างๆรอบตัวหมุน หรือตัวเองอยู่ในสภาพหมุน ทั้งๆที่ยืนหรือนั่งนิ่งๆ ไม่ได้เคลื่อนไหว
อาการอื่นๆที่พบในระหว่างนั้นก็คือ เวียนหัว คลื่นไส้ พะอืดพะอม บ้าน หมุน สูญเสียการทรงตัว อาจเดินเซจนถึงขั้นล้ม ไม่มีแรงในการเคลื่อนไหว นอกจากนี้อาจมีอาการอาเจียน หูอื้อ วัดความดันแล้วผิดปกติ ไปจนถึงอาจมีความผิดปกติของสายตาและการมองเห็น มีอาการตากระตุก ในบางรายอาจมีเสียงรบกวนภายในหูด้วย
สำหรับลักษณะอาการที่กล่าวมา มักจะเกิดขึ้นไม่นาน โดยมากแล้วจะมีอาการอยู่ประมาณ 2-3 นาที หรือนานกว่านั้นคือหลายชั่วโมง ตามแต่สาเหตุของอาการและสภาพร่างกายของผู้ป่วยในเวลานั้น บางครั้งอาจมีอาการวิงเวียนและหมุนเป็นพักๆ แต่เมื่อนั่งลงพัก หรือหลับตาพักสักหลายนาที อาการก็จะดีขึ้น แต่บางรายอาจมีอาการตกค้างอยู่เป็นชั่วโมง ขึ้นกับสาเหตุของอาการด้วย

สาเหตุของอาการเวียนหัว คลื่นไส้ พะอืดพะอม บ้าน หมุน

ทางการแพทย์ได้วิเคราะห์สาเหตุของอาการบ้านหมุนว่าอาจเกิดจากหลายสาเหตุประกอบกัน ได้แก่
ปัญหาของอวัยวะการรับรู้ในหูชั้นใน
พบว่า นี่เป็นสาเหตุที่พบบ่อยของอาการบ้านหมุนและอาการเวียนศีรษะต่างๆ ตัวอย่างเช่น โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน ตะกอนหินปูนในหูชั้นในหลุด หินปูนในหูชั้นในเคลื่อน
สาเหตุของโรคเหล่านี้ มักเกิดจากความผิดปกติของน้ำและแรงดันของหูชั้นใน ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการบ้านหมุน และอาการต่างๆเช่น วิงเวียนศีรษะ หูอื้อ ประสาทการได้ยินลดลง ไปจนถึงการทรงตัวมีปัญหา
โรคประสาทการทรงตัวอักเสบ (Vestibular Neuronitis)
เป็นผลมาจากภาวะของหูชั้นในอักเสบจากเชื้อไวรัส หรือ อาการประสาทหูชั้นในอักเสบ (Labyrinthitis) ซึ่งส่งผลต่อระบบการทรงตัวของร่างกาย
อาการข้างเคียงจากโรคอื่นๆ
เป็นสาเหตุที่มาจากโรคข้างเคียงอื่นๆ และการใช้ยาบางประเภทที่เกี่ยวกับระบบประสาทและการทรงตัว แต่สาเหตุจากอาการข้างเคียงเหล่านี้จะไม่พบบ่อยนัก เช่น โรคไมเกรน หรือมีการบาดเจ็บที่ศีรษะและคอ หรือโรคเกี่ยวกับระบบสมอง เป็นต้น

การป้องกันบ้านหมุน

นื่องจากอาการบ้านหมุนไม่ได้มีสาเหตุที่ตายตัว และขึ้นอยู่กับสาเหตุที่แตกต่างกันไปตามแต่สุขภาพและปัญหาในร่างกายของแต่ละคน รวมถึงพฤติกรรมและการใช้ชีวิตด้วย ดังนั้นโดยหลักแล้วการป้องกันและดูแลสุขภาพจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับป้องกันและลดความเสี่ยงของอาการนี้ เช่น

  • พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ เพื่อช่วยให้ระบบในร่างกายทำงานได้อย่างปกติ
  • ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มประเภท แอลกอฮอล์ น้ำอัดลม ซึ่งอาจมีสารที่อาจที่ทำให้เลือดไปเลี้ยงหูชั้นในได้น้อยลง บางกรณีควรเลี่ยงการดื่มชาและกาแฟที่มีรสหวานด้วย
  • กรณีผู้สูงอายุ ก่อนลุกจากเตียงนอนในตอนเช้า ควรค่อยๆลุกขึ้นนั่งก่อน และไม่ควรลุกเปลี่ยนท่าจากการนั่งเร็วเกินไป
  • กรณีที่เริ่มมีอาการเวียนศีรษะ ควรนั่งพักทันที
  • ลดการรับประทานอาหารรสเค็มจัด เพราะอาจส่งผลต่อการมีน้ำคั่งในหูชั้นใน

คำแนะนำ

แม้ว่าอาการบ้านหมุนจะเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยเฉพาะผู้สูงอายุ และก็ไม่ใช่อาการที่อันตรายเกินไปนัก แต่หากผู้สูงอายุในบ้านหรือตัวเรามีอาการนี้เกิดขึ้นถี่บ่อยครั้ง นั่นแสดงว่าเป็นสัญญาณที่ไม่ดีนัก
ดังนั้นหากเกิดอาการบ้านหมุนดังกล่าว จึงควรรีบไปพบแพทย์ เพราะอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุและอาจมีอันตรายยิ่งกว่าที่คิด เพื่อให้สามาถรทำการรักษาได้ทันท่วงทีและตรงกับสาเหตุของอาการ ก่อนที่จะลุกลามจนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

www.webmd.com

www.healthline.com

www.health.harvard.edu

คอมเมนต์

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ