โรค เบาหวาน คือ อะไร สาเหตุ วิธีป้องกัน สมุนไพรรักษา เบาหวาน
รู้หรือไม่ว่าโรค เบาหวาน คือ อะไร คือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ร่างกายในกระบวนการเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงาน ซึ่งกระบวนการนี้เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของฮอร์โมนที่ชื่อว่า อินซูลิน (Insulin) ที่สร้างจากตับอ่อน เพื่อนำน้ำตาลในกระแสเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆของร่างกาย โดยเฉพาะกล้ามเนื้อ และสมอง ในภาวะที่อินซูลินมีความผิดปกติ ทั้งภาวะลดลงของปริมาณอินซูลินในร่างกาย หรือ อวัยยะต่างๆ ของร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินน้อยลง หรือ ภาวะดื้ออินซูลิน ทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลที่อยู่ในกระแสเลือด ไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากพอ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินกว่าปกติอย่างต่อเนื่องและเรื้อรั้ง หากระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงถึงระดับหนึ่ง จะส่งผลให้ไต ที่ทำหน้าดูดกลับน้ำตาลจากสารที่ถูกกรองจากหน่วยไตไปใช้ ถูกดูดกลับได้ไม่หมด ทำให้มีน้ำตาลรั่วออกมากับปัสสาวะ หาปล่อยให้เป็นภาวะนี้ในระยะยาวจะส่งงผลให้เกิดการทำลายหลอดเลือด และนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานที่รุนแรงตามมาในที่สุด
สาเหตุ โรคเบาหวาน เกิดจากอะไร
สาเหตุเกิดจากการบกพร่องของฮอร์โมนอินซูลิน เนื่องจากตับอ่อนผลิตอินซูลินได้น้อยหรือผลิตไม่ได้เลย หรือผลิตได้ปกติ แต่ประสิทธิภาพของอินซูลินลดลง เมื่ออินซูลินขาด หรือทำหน้าที่ได้ไม่ดีพอ น้ำตาลในเลือดจึงเข้าสู่เซลล์ต่างๆ ได้น้อยลงกว่าปกติ จึงเกิดการคั่งของน้ำตาลในเลือดมากขึ้น และถูกขับออกมาทางปัสสาวะ ผู้ป่วยส่วนมากจะมีระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงมากกว่าปกติ และปัสสาวะบ่อย เพราะน้ำตาลที่มาจากไตจะดึงเอาน้ำออกมาด้วย จึงทำให้ปัสสาวะออกมามากกว่าปกติ เนื่องจากร่างกายของผู้ป่วยเบาหวานจะไม่สามารถนำน้ำตาลมาเผาพลาญเปลี่ยนเป็นพลังงานได้ ร่างกายจึงหันมาเผาผลาญกล้ามเนื้อและไขมันแทน ส่งผลให้ร่างกายผอม กล้ามเนื้อฝ่อ ลีบ ไม่มีไขมัน อ่อนเพลียง่าย และเมื่อมีน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานานๆจะยิ่งทำให้อวัยวะต่างๆในร่างกายเปลี่ยนแปลงผิดปกติไปจากเดิม และนำมาซึ่งโรคแทรกซ้อนต่างๆมากมาย และอาจถึงขึ้นเสียชีวิตได้เลยก็มี
ชนิดของโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานชนิดที่ 1 (type 1 diabetes mellitus, T1DM)
เกิดจากเซลล์ตับอ่อนถูกทำลาย ทำให้เกิดภาวะขาดอินซูลิน ส่วนใหญ่จะพบในเด็ก จำเป็นต้องรักษาด้วยยาอินซูลิน
โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (type 2 diabetes mellitus, T1DM)
เป็นโรคเบาหวานที่เกิดจากภาวะการสร้างอินซูลินลดลง ร่วมกับภาวะดื้ออินซูลิน เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด ส่วนใหญ่พบในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ และมักเป็นกรรมพันธุ์ ระยะแรกอาจจะรับประทานยาลดระดับน้ำตาลในเลือด แต่ถ้าเป็นนานๆไป บางรายอาจจะต้องใช้ยาอินซูลิน
โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (gestational diabetes mellitus, GDM)
ส่วนมากเกิดในไตรมาส 2-3 ของการตั้งครรภ์ มักเกิดในผู้ที่ไม่มีประวัติเป็นเบาหวานมาก่อนตั้งครรภ์ และจะหายไปหลังจากคลอดบุตร แต่คนกลุ่มนี้ยังมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในอนาคตได้
โรคเบาหวานที่มีสาเหตุจำเพาะ (specific types of diabetes due to other causes)
มีได้หลายสาเหตุ หรือเป็นโรคที่เกี่ยวกับการทำงานผิดปกติของอิซูลินแต่กำหนด เช่น โรคตับอ่อน โรคทางพันธุกรรม เป็นต้น
ภาวะ แทรกซ้อน เบาหวาน
ผู้ที่เป็นเบาหวานมานานอย่างน้อย 5 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะในผู้ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด มักพบโรคแทรกซ้อนเรื้อรังอื่นๆตามมา ซึ่งมีการศึกษาพบว่า 2 ใน 3 ของผู้ป่วยเบาหวานจะเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดในสมอง และ หลอดเลือดหัวใจ ซึ่งโรคเหล่านี้จะทำให้สูญเสียความสามารถในการทำงาน สูยเสียคุณภาพชีวิต และค่าใช้จ่ายที่มากมาย ถึงแม้ปัจจุบันนั้นวิทยาการทางการแพทย์จะก้าวหน้าไปไกลแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่มียาที่สามารถรักษาโรคเบาหวานให้หายขาดได้เลย การดูแลผู้ป่วยเบาหวานจึงทำได้แค่ดูแลและรักษา เพื่อให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด และลดอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ที่จะตามมาให้น้อยที่สุด
ภาวะ แทรกซ้อน เบาหวานเรื้อรังที่พบได้บ่อยในผู้เป็นเบาหวาน
โรคผิวหนัง
เกิดจากร่างกายขาดน้ำ ทำให้ผิวแห้งและติดเชื้อง่ายขึ้น ทำให้เกิดการคัน เป็นแผลตามผิดหนัง หายยากและอักเสบ ดังนั้นผู้ป่วยจึงควรดูแลผิวหนังให้สะอาดอยู่เสมอ และทาครีมเพื่อบำรุงผิวหนัง
โรคในช่องปาก
สาเหตุส่วนใหญ่มาจากร่างกายขาดน้ำ ทำให้ผลิตน้ำลายได้น้อยลง ปากแห้ง มีผลให้เกิดการติดเชื้อในช่องปาก เหงืออักเสบ เกิดหินปูน ฟันผุ สามารถป้องกันได้ด้วยการรักษาความสะอาดในช่องปาก แปลงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และดื่มน้ำให้มากขึ้น
โรคหลอดเลือดหัวใจ
เป็น 1 ในโรคแทรกซ้อนที่มีการเสียชีวิตมากที่ โรคนี้จะทำให้สูญเสียความสามารถในการทำงาน สูยเสียคุณภาพชีวิต และค่าใช้จ่ายที่มากมายตามมาอีกด้วย ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก จากหลอกเลือดหัวใจตีบ หล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และเสียชีวิตในที่สุด ปัจจับที่ทำให้เกิดโรคนี้ได้แก่ ความดันโรหิตที่สูงเกินไป ไขมันในเลือดสูง ควบคุมความหวานได้ไม่ดีพอ อ้วน สูบบุหรี่ ไม่ออกกำลังกาย มีความเครียดเป็นประจำ และครอบครัวมีประวัติเป้นโรคหัวใจ ควรเลี่ยงปัจจัยเหล่านี้ และเข้าตรวจร่างกายเป็นประจำเพื่อลดความเสี่ยง
โรคความดันโลหิตสูง
โรคนี้พบค่อนข้างมากจากจำนวนผู้เป็นเบาหวานทั้งหมด และเมื่อเป็นแล้วมักจะพบโรคแทรกซ้อนอื่นๆตามมาด้วย เช่น โรคไต โรคตา และ โรคหัวใจ เป็นต้น ควรควลคุมระดับความดันเลือดให้เป็นปกติ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และทานอาหารที่เป็นประโยชน์ร่วมด้วย
โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน
เกิดจากหลอดเลือดที่มาเลี้ยงบริเวณสมองตีบ ทำให้เกิดการพิการ หรือรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ และถ้ามีความดันโลหิตสูงร่วมด้วยจะยิ่งเพิ่มโอกาสที่จะเป็นโรคนี้มากยิ่งขึ้นไปอีก โรคนี้จะทำให้อวัยวะที่สมองส่วนนั้นควบคุมอยู่ออนแรงลงไปจนเกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต ได้ สามารถรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด เมื่อาการดีขึ้น ให้ทำกายภาพบำบัด จะทำให้ฟื้นฟูได้ดียิ่งขึ้น
โรคไตเสื่อม ไตวาย จากเบาหวาน
เมื่อผนังหลอดเลือดถูกทำลายโดยปริมาณน้ำตาลในระแสเลือดสูงเกินไปเป็นเวลานานๆ การกรองของไตก็จะเสื่อมไปด้วย ทำให้โปรตีนรั่วออกมาในปัสสาวะมาอย่างยาวนาน จะเกิดปัญหา ไตเสื่อม แต่ความรุนแรงและระยะเวลาการเกิดนั้น จะมากหรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับการคสบคุมน้ำตาลในเลือด เมื่อตบว่าตัวเองเป็นเบาหวาน ฉนั้นควรรักษาน้ำตาลในกระแสเลือดให้เป็นปกติ และหันมาออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง
ปลายประสาทเสื่อม จากเบาหวาน
โรคที่ไม่อันตรายถึงชีวิต แต่ก็ทำให้ใช้ชีวิตปกติได้ลำบากยิ่งขึ้น เกิดจากการที่เส้นเลือดฝอยที่มาเลี้ยงประสาทถูกทำลาย ทำให้ไม่สามารถส่งออกซิเจนตามกระแสเลือดเพื่อไปเลี้ยงเส้นประสาทได้แบบปกติ รวมถึงมีน้ำตาลสะสมรวมตัวกันอยู่บริเวณเส้นประสาทด้วย จึงทำให้การทำงานของเส้นประสาทนั้นเสื่อมลง และความรู้สึกรับรู้ลดลง เกิดอาการชา หรือไม่ค่อรับรู้อาการเจ็บปวด จึงอันตรายต่อผู้ป่วยเบาหวาน เพราะอาจทำให้เกิดแผลได้ง่าย เมื่อเป็นมากอาจจะทำให้กล้ามเนื้อลีบ ทำกิจวัตรประจำวันได้น้อยลง และยังส่งผลต่อเส้นประสาทที่มาเลี้ยงบริเวณระบบทางเดินอาหาร ทำให้ท้องผูกโดยไม่ทราบสาเหตุ และในผู้ชายที่เป็นโรคเบาหวานมายาวนานมักพบปัญหาเสื่อมสมรรถภาพทางเพศร่วมด้วย การรักษาโรคนี้ทำได้เพียงแค่บำบัดตามอาการเท่านั้น ไม่สามารถรักษาให้กลับมาสู่สภาพเดิมได้
โรคตา จอประสาทตาเสื่อม และต้อกระจกจากเบาหวาน
เมื่อร่างกายมีระดับน้ำตาลมากขึ้น ร่างกายจะขับน้ำตาลออกมาตามส่วนต่างๆ รวมถึงบริเวณเลนส์ตา ทำให้เกิดโรคที่เกี่ยวกับดวงตาหลายชนิด และอาจส่งผลให้จอรับภาพฉีกขาดหรือแตก เสี่ยงที่จะตาบอดได้ ดังนั้น ถ้าเริ่มมีอาการปวดตา ตาพร่ามัว เห็นภาพซ้อน มองเห็นแสงไฟ หรือใยแมงมุมในอากาศ ควรรีบปรึกษาจักษุแพทย์
วิธีป้องกันโรคเบาหวาน
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
ควรหมั่นออกกำลังกายต่อเนื่องอย่างน้อยครั้งละ 30 นาที 3-4 ครั้ง ต่อ 1 สัปดาห์ เพื่อให้แป้งและน้ำตาลที่สะสมอยู่ในร่างกาย ถูกดึงออกไปใช้เป็นพลังงาน
ควบคุมน้ำหนัก
จากการวิจัยพบว่าผู้ที่มีน้ำหนักเกินล้วนมีความเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวานสูงถึง 80% ฉนั้นควรควบคุมน้ำหนักโดยด่วน!
รับแสงแดดอ่อนๆ ยามเช้าหรือเย็น
แสงแดดอ่อนๆนั้น อุดมไปด้วยวิตามิน D ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ซึ่ง วิตามิน D ช่วยป้องกันเบาหวานและยังทำให้ผิดพรรณเปล่งปลั่งมากขึ้น ฉนั้น การออกกำลังกายกลางแดดอุ่นๆจึงดีต่อการป้องกันการเป็นเบาหวาน แต่อย่าไปออกกำลังกายตอนแดดจัดเชียวละ นอกจากทำให้ผิวไม่แปล่งปลั่งแล้วยังเสี่ยงเป็นมะเร็งผิวหนังอีกด้วยนะ
รับประทานข้าวกล้อง
ข้าวกล้องเต็มไปด้วยวิตามินและสารอาหารต่างๆ มากมายและไม่ทำให้อ้วนอีกด้วย และยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดเบาหวานได้ดีอีด้วยนะ
งดการดื่มแอลกอฮอล์
เนื่องจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะไปทำลายตับให้เสื่อมสภาพลงและเสี่ยงต่อภาวะตับแข็ง ซึ่งเมื่อตับอ่อนเกิดความผิดปกติก็จะทำให้ผลิตอินซูลินน้อยลง
ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
การทานอาหารให้ครบ 5 หมู่นั้น ทำให้ร่างกายได้รับวิตามินที่เพียงพอ ส่งผลให้ทุกส่วนในร่างกายแข็งแรงมากขึ้น จึงลดความเสี่ยงเบาหวานได้ดีนั่นเอง และควรเน้นเมนูผักและผลไม้ให้มากๆ พร้อมทั้งลดคาร์โบไฮเดตจากแป้งและไขมันให้น้อยลงด้วยนะ เพราะถ้ายังรับไขมันและคาร์โบไฮเดรตมากเกินไปอยู่ละก็ ยังไงก็ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดเบาหวานได้เช่นกัน
การรักษาโรคเบาหวาน
การรักษาเบาหวานต้องอาศัยความร่วมมือของผู้ป่วยเองนั้นสำคัญที่สุด เพราะว่าต้องมีการปรับเปลี่ยนชีวิตประจำวัน มีการดูแลสุขมากขึ้น การกินอาหาร การคุมอาหาร การคุมน้ำตาล ที่ต้องดูแลมากกว่าคนปกติทั่วไป เพื่อให้ตัวผู้ป่วยเองมีสุขภาพที่ดีขึ้น
วิธีที่ 1 การควบคุมอาหาร
การควบคุมไม่ได้หมายถึงการที่ต้องลดปริมาณอาหาร แต่เป็นการรับประทานอาหารที่เหมาะสมทั้งชนิดและปริมาณของอาหาร ควรเลือกบริโภคอาหารที่มีน้ำตาลต่ำ โดยปริมาณน้ำตาลที่ได้รับในแต่ละครั้งในการทานอาหารทั้งวัน ไม่ควรเกินร้อยละ 5 ของพลังงานรวม การคุมอาหารเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของผู้ป่วยเบาหวาน เพราะถ้ายังกินไม่เลือก กินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ก็ไม่มีทางที่จะดีขึ้นได้
วิธีที่ 2 บริโภคอาหารที่มีกากใยสูง
การควบคุมการกินอาหารนั้นสำคัญ แต่ถ้าเลือกกินอาหารที่มีใยอาหารให้ได้ 14 กรัม ต่ออาหาร 1,000 กิโลแคลอรี จะยิ่งช่วยให้อาการดีขึ้นได้ ควรรับประทานผลไม้รสหวานในปริมาณที่ไม่มากจนเกินไป และควรเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ
วิธีที่ 3 การออกกำลังกาย
การออกกำลังกายนั้นแน่นอนว่าดีต่อสุขภาพอยู่แล้ว ทำให้ผ่อนคลาย ลดความเครียด และยังช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความดัน ลดไขมันได้อีกด้วย แต่ก่อนออกกำลังกาย ควรเช็คก่อนว่ามีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจหรือไม่ ไม่ควรที่จะออกกำลังกายหนักจนเกินไปตั้งแต่ครั้งแรกๆ และควรออกกำลังกาย 150 นาที ต่อสัปดาร์ หรือ 30-50 นาที 3-5 วันต่อสัปดาร์ก็ได้
วิธีที่ 4 การใช้ยา
เป็นวิธีที่ไม่แนะนำให้ใช้เพราะการทานยาเป็นเวลานานๆอาจจะช่วยเบาหวานได้ แต่กับระบบอื่นของร่างกายอาจจะแย่ลงไปเรื่อยๆก็ได้ แต่หากผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้จากวิธีอื่นๆที่กล่าวมา ก็จำเป็นต้องใช้ยาเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด
โรคเบาหวาน อาหารแบบที่ไหนควรกิน?
ผู้ป่วยเบาหวานสามารถทานได้เหมือนคนปกติทั่วไป แต่อาจจะต้องลดปริมาณ อาหารชนิดแป้งและไขมัน และไม่ควรทานอาหารที่หวานจัดๆ เพื่อคสบคุมไขมันในหลอดเลือด รวมถึงการรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และควรทานอาหารให้เป็นเวลา ปริมาณใกล้เคียงกันในแต่ละมื้อ โดยเฉพาะคาร์โบไฮเดรตโดยรวม และหากอยากลดน้ำหนัก ไม่ควรอดอาหาร แต่ให้เป็นการลดปริมาณอาหารแทน เพราจะทำให้หิว แล้วทานมื้อถัดไปเยอะขึ้น
อาหารสําหรับคนเป็นเบาหวานควรกินยังไง?
- ก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง สามารถทานได้ปกติ เว้นแต่จะมีภาวะอ้วนร่วมด้วย ถ้ามีภาวะอ้วนให้ลดปริมาณลงครึ่งหนึ่ง
- ผลไม้รสหวานน้อย และมีใยอาหารมาก ตามปริมาณที่กำหนด (วันละ 2-3 ครั้ง แทนการทานขนม)
- ผัก ควรเพิ่มเข้าไปในแต่ละมื้อให้มากขึ้น
- ผัก ผลไม้ ควรทานเป็นผล แทนการคั้นดื่ม
- ไข่ สามารถทานได้ปกติ เว้นแต่หากมีโคเลสเตอรอลในเลือดสูง ให้งดทานไข่แดง
- เนื้อสัตว์ สามารถทานได้ แต่ควรทานที่ไม่ติดมัน และไม่ติดหนัง
- ปลา และ เต้าหู้ ควรทานให้บ่อยขึ้น
- ไขมัน น้ำมัน เลี่ยงได้ควรเลี่ยง แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ ทานที่ไขมันน้อย หรือใช้น้ำมันน้อยแทน เป็นไปได้ควรเปลี่ยนไปทานอาหารประเภท นึ่ง ย่าง ต้ม แทน
- ถ้าต้องทานน้ำมัน แนะนำให้ใช้น้ำมันพืชจำพวกถั่วเหลือง หรือน้ำมันรำข้าว ในการทอดแทน หรือ ผัด แทน แต่ก็ไม่ควรใช้ในปริมาณมากจนเกินไป
- อาหารใส่กระทิ เลี่ยงได้เลี่ยง
- นม ควรเลือกดื่มนมที่ขาดมั
- เนย หรือไขมัน 0% แทนนมปรุงแต่งรส
- น้ำอัดลม น้ำหวาน ลูก อม ช็อกโกแลต ขนมหวานจัดๆ เลี่ยงได้เลี่ยง
- น้ำตาล ถ้าเลี่ยงไม่ได้ ให้ใช้น้ำตาลเทียมแทน
- เลือกทานอาหารที่น้ำตาลน้อยกว่า 20 กรัม แต่จะเลือกทานอาหาร ที่มีน้ำตาลอย่างละ 10 กรัม หลายอย่างก็ไม่ได้นะ
สมุนไพรรักษา เบาหวาน
อีก 1 ทางเลือกสำหรับคนคนเป็นเบาหวาน คือการใช้สมุนไพร แก้ เบาหวาน เพื่อช่วยให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น มีอะไรบ้างไปดูกัน
มะระขี้นก
โบราณว่าไว้ หวานเป็นลม ขมเป็นยา ใช่แล้วละ มะระขี้นกขม แต่มีสรรพคุณเยอะแยะมากมาย มีทั้งสาร P-Insulin , Charantin และ Visine ที่เข้าไปกระตุ้นการหลั่งอินซูลิน ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ยับยั้งการสังเคราะห์กลูโคส และยังช่วยเพิ่มการใช้กลูโคสในตับอีกด้วย สามารนำมะระมาปั่นกับน้ำ แล้วดื่มเพื่อรักษาได้
ตำลึง
ผักที่หาได้ง่ายๆ แต่คุณค่าทางอาหารสูง นำไปประกอยอาหารได้หลายเมนู มีวิตามินเอและซีสูง มีสาร Pectin ตัวช่วยลดน้ำตาลในเลือด สามารถนำเถาแก่ๆ 1 กำมือ ต้มกับน้ำ หรือคั้นน้ำจากผลตำลึงดิบๆ มาดื่ม เช้า กับ เย็น เพื่อช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้ ทานติดต่อกันเป็นเวลา 3 เดือนก็เริ่มเห็นผลแล้วด้วยนะ
วุ้นว่ายหางจระเข้
ในว่านหางจระเข้ มีสารโพลีแซคตาไรด์ มีฤทธิ์กระตุ้นการหลังอินซูลินได้ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด สามารถ ทานเนื้อวุ้นได้เลย หรือนำไปปั่น เพื่อให้ทานได้ง่ายขึ้น รับประทาน 15 กรัม ต่อวัน
อบเชย
เต็มไปด้วยสารที่ช่วยในการหลั่งอินซูลิน ช่วยลดน้ำตาลในหลอดเลือด และยังช่วยลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่จะเกิดโรคเบาหวานและโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจได้ สามารถใช้ผงอบเชยโรยในอาหารหรือเครื่องดื่มที่รับประทานในปริมาณวันละ 1 ช้อนชา
กระเทียม
สารอัลชิลิน ตัวช่วยลดไขมันและคอเลสเตอรอล ช่วยกระตุ้นการหลั่งอินซูลิน ลดความดันโรหิต ทำให้น้ำตาลในเลือดลดลง ควรรับประทานแบบสด เพราะจะได้ประโยชน์มากกว่าทำให้สุก
ขิง
ตัวช่วยลดน้ำตาลในเลือด ลดคอเลสเตอรอลในเลือด กระตุ้นการหลั่งอินซูลิน
หญ้าหวาน
สมุนไพรที่ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาล 100-300 เท่า! แต่ไม่มีโทษต่อร่างกายนะ แถมยังช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด บำรุงตับอ่อน อีกด้วย
กระเพรา
สมุนไพรที่สามารถหารับประทานได้ทั่วไปตามร้านอาหารตามสั่ง หรือปลูกเองก็แสนจะง่าย ใครจะไปคิดว่าจะเป็นตัวช่วยลดน้ำตาลและคอเลสเตอรอลในเลือดได้ด้วยละ
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นสมุนไพรบางชนิดอาจจะส่งข้างเคียงต่อสุขภาพได้ หากรับประทานคู่กับยา แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อน
อินซูลิน คืออะไร (Insulin) ทำไมเป็นเบาหวานแล้วต้องฉีด?
อินซูลินคือฮอโมนส์ที่ตับอ่อนผลิตออกมาเพื่อยับยั้งและควบคุมน้ำตาลในกระแสเลือดให้ปกติ แน่นอนว่าหากขาดอินซูลินไปจะทำให้ร่างกายควบคุมน้ำตาลไม่ได้จนเกิดกลายเป็นโรคเบาหวานชนิดที่1 และ 2 นั่นเอง ดังนั้นการที่จะรักษาโรคเบาหวาน การฉีดอินซูลินเข้าไปในร่างกายจึงเป็นการรักษาที่เห็นผลมากที่สุด อินซูลินมีหลายชนิด ได้แก่ อินซูลินแบบออกฤทธิ์นาน แบบออกฤทธิ์สั้นหรือเร็ว จนกระทั่งแบบสั้นและเร็วผสมอยู่ด้วยกัน แพทย์จึงต้องแนะการใช้อินซูลินให้เหมาะกับผู้ป่วยแต่ละคน ไม่ใช่ว่าผู้ป่วยทุกคนจะใช้อินซูลินแบบเดียวกันเสมอไป
สามารถอ่านต่อไปที่บทความนี้