ความดันโลหิตคืออะไร สำคัญอย่างไร ทำไมเราถึงควรใส่ใจดูแล

ความดันโลหิตคืออะไร สำคัญอย่างไร ทำไมเราถึงควรใส่ใจดูแล

สารบัญเนื้อหา

ความดันโลหิตคืออะไร สำคัญอย่างไร ทำไมเราถึงควรใส่ใจดูแล

ความดันโลหิตคือ ค่าความดันภายในหลอดเลือดแดง ซึ่งเกิดจากการบีบตัวของหัวใจ ส่งผ่านหลอดเลือดเพื่อนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย หากความดันโลหิตสูงจะทำให้หัวใจเกิดการบีบตัว จนเกิดเป็นโรคร้ายแรงต่างๆ ได้ ซึ่งอาการผิดปกติของกระแสเลือดนั้นสามารถเป็นได้ทั้ง ความดันโลหิตต่ำ และ ความดันโลหิตสูง เกินไป ทั้งสองอย่างจะเกี่ยวโยงกันกับการที่เลือดจะวิ่งไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย ซึ่งจะทำให้อาการนั้นมีต่างกันไป

ความดันโลหิตสามารถวัดได้ 2 ค่าดังนี้

1.ความดันโลหิตบน คือ แรงดันโลหิตขณะที่หัวใจบีบตัว

2.ความดันโลหิตล่าง คือ แรงดันโลหิตขณะที่หัวใจคลายตัวเต็มที่

ความดันโลหิตสูง (Hypertention) คือ

ความดันโลหิตสูง (Hypertention) คือ?

เป็นภาวะมีค่าความดันโลหิตสูงในระดับที่ผิดปกติ ตรวจวัดค่าได้มากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งหมายถึงการหัวใจออกแรงสูบฉีดเลือดแรงเกินไปจนอาจนำไปสู่โรคร้ายแรงต่างๆได้ ปัจจัยการเกิดนั้นไม่แน่ชัดนักและสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งหากไม่ได้รับการดูแลแก้ไขที่ถูกต้องและทันเวลาก็อาจจะทำให้ความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อนต่างขึ้นได้

สาเหตุการเกิดภาวะความดันโลหิตสูง

สาเหตุการเกิดภาวะความดันโลหิตสูง

ผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูงส่วนมากประมาณ 90-95% หมอจะไม่สามารถตรวจพบสาเหตุการเกิดโรคที่แน่ชัดได้ ไม่พบอาการความผิดปกติต่างๆ เรียกว่า ความดันโลหิตสูงไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด (Essential Hppertension) ซึ่งเป็นเรื่องปกติ ไม่ว่าสามารถจะเกิดจากอะไร หมอจะจ่ายยาลดความความดันโลหิตให้
ผู้ป่วยส่วนน้อยที่มีภาวะความดันโลหิตสูงประมาณ 5-10% อาจตรวจพบสาเหตุการเกิดโรค และอาการความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้ เรียกว่า “ความดันโลหิตสูงชนิดทราบสาเหตุแน่ชัด” ซึ่งอาจเกิดจากโรคประจำตัวต่างๆที่ผู้ป่วยยมีอยู่แล้ว ได้แก่

กลุ่มโรคไต เช่น โรคไตเรื้อรัง กรวยไตอักเสบ โรคถุงน้ำไตต่างๆ
กลุ่มโรคหลอดเลือด เช่น โรคหลอดเลือดไตตีบ โรคหลอดเลือดแดงใหญ่ตีบ โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง

เนื้องอกบางชนิดของต่อมหมวกไต หรือต่อมใต้สมอง

ความดันโลหิตคืออะไร
ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะความดันโลหิตสูง

ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะความดันโลหิตสูง

  1. พันธุกรรม

    • มีโอกาสสูงมากที่จะมีภาวะความดันโลหิตสูง หากสมาชิกในบ้านเคยมีประวัติเป็นภาวะโรคความดันโลหิตมาก่อนแล้ว
  2. โรคเบาหวาน

    • เพราะการอุดตันของน้ำตาลจะส่งผลให้เลือดหนืดข้นและอุดตันสะสมจนเกิดเป็นภาวะหลอดเลือดอุดตัน ทำให้หัวใจต้องสูบฉีดแรงและถี่มากขึ้น
  3. กลุ่มโรคไตเรื้อรัง

    • การที่ไตเสื่อมเป็นระยะเวลานานจะส่งผลให้เกิดความผิดปกติในการสร้างเอ็นไซม์ รวมไปถึงฮอร์โมนที่ควบคุมระดับความดันโลหิต
  4. ภาวะโรคอ้วนและน้ำหนักตัวมาก

    • เพราะเป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดตีบตันซึ่งจะส่งผลกับระดับความดันโลหิตโดยตรง
  5. การขาดการออกกำลังกาย

    • เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจไม่แข็งแรง ระบบเผาผลาญบกพร่อง และอาจเป็นสาเหตุของการเกิดภาวะโรคอ้วนอีกด้วย
  6. การรับประทานอาหารที่มีรสเค็ม

    • การรับประทานอาหารที่มีรสเค็มติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะเป็นสาเหตุของโรคไตเสื่อมได้
  7. แอลกอฮอล์

    • เป็นการทำให้หัวใจเต้นแรงกว่าปกติ และมีโอกาสที่จะเกิดเป็นโรคความดันโลหิตสูงถึง 50% เลยทีเดียว
  8. การสูบบุหรี่

    • สารพิษต่างๆในบุหรี่จะส่งผลให้เกิดการอักเสบของหลอดเลือด ก่อให้เกิดการตีบตัน ส่งผลไปเสียไปทั้งหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดไต
อาการของโรคความดันโลหิตสูง

อาการของโรคความดันโลหิตสูง

  1. ผู้ที่เป็นจากสาเหตุที่ไม่ชัดเจน ส่วนใหญ่จะเพิ่งเริ่มเป็น ไม่ค่อยพบอาการที่แสดงออกอย่างชัดเจน อาจมีอาการปวดมึนท้ายทอย ตึงบริเวณต้นคอ มึนหัว เวียนศรีษะ ส่วนใหญ่อาการจะแสดงตอนเพิ่งตื่นนอนใหม่ๆ อาจมีอาการปวดหัวตุ้บๆ ปวดหัวข้างเดียว คล้ายไมเกรน
  2. สำหรับผู้ที่มีสาเหตุเด่นชัด มักจะเป็นผู้ที่มีค่าความดันสูงมานานแล้ว มักจะมีอาการอ่อนเพลีย ใจสั่น เหนื่อยง่าย นอนไม่หลับ ตามัว มือชาเท้าชา หรืออาจมีเลือดกำเดาไหลร่วมด้วย
โรคร้ายแรงที่มาพร้อม ความดันโลหิตสูง

โรคร้ายแรงที่มาพร้อม ความดันโลหิตสูง

  1. โรคหัวใจขาดเลือด

    • ความดันโลหิตที่สูงจะทำให้หัวใจทำงานหนัก หลอดเลือดหัวใจเกร็งอยู่ตลอดเวลาจนหลอดเลือดหนาขึ้น เสี่ยงหลอดเลือดแข็งซึ่งอาจส่งผลให้หัวใจวายจนเสียชีวิตได้
  2. เส้นเลือดสมองโป่งพอง

    • ผนังเส้นเลือดสมองจะอ่อนตัวลง อาจเกินการโป่งพองขึ้นจนเสี่ยงเส้นเลือดแตกได้
  3. หัวใจล้มเหลว

    • เมื่อความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจต้องออกแรงปั๊มเลือดเพื่อไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจหนาขึ้น ขาดความยืดยุ่น ในระยะยาวหัวใจจะไม่สามารถปรับตัวจนกลับมาคลายตัวเหมือนเดิมได้ ส่งผลให้เลือดไม่ถูกสูบฉีดไปเลี้ยงร่างกายได้อย่างเพียงพอ
  4. โรคไตเสื่อม

    • เลือดไปเลี้ยงไตไม่เพียง ส่งผลให้ไตขาดเลือด ระบบการทำงานของไตถูกทำลาย ไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ ทำให้ของเสียในร่างกายไม่ถูกกำจัด
ความดันโลหิตสูง (Hypertention) คือ

การวัดระดับความดันโลหิต

ความดันช่วงบน (Systolic Pressure) คือ ค่าแรงดันโลหิตขณะที่หัวใจกำลังบีบตัว สูงขึ้นตามปัจจัยต่างๆ เช่น อายุ อารมณ์ และปริมาณการออกกำลังกาย
ความดันช่วงล่าง (Diastolic Pressure) คือ ค่าแรงดันขณะหัวใจคลายตัว โดยจะสัมพันธ์ุกับความดันช่วงบน

ตารางเกณฑ์ค่าความดันที่ปกติ ช่วงบน/ช่วงล่าง

ความดันโลหิตปกติ < 120 และ < 80

ความดันปกติที่ค่อนไปทางสูง 120 – 129 และ < 80

ความดันโลหิตสูงระดับที่ 1 130 – 139 และ 80 – 89

ความดันโลหิตสูงระดับที่ 2 > 140 และ > 90

หากอายุเยอะขึ้น การหมั่นวัดความดันนั้นเป็นสิ่งจำเป็น เพราะส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการก่อน แต่จะแสดงออกมาเมื่ออาการทรุดหนักแล้ว ดังนั้นการวัดความดันด้วยตัวเองจึงเป็นการป้องกันและรู้ทันอันตรายที่กำลังจะมาเยือน ขอแนะนำว่าควรมีเครื่องวัดความดันติดบ้านสักเครื่องนะคะ ในปัจจุบันราคาไม่แพง หาซื้อง่าย แถมคุณภาพดีอีกด้วย สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ เครื่องวัดความดันโลหิต ได้ที่นี่เลย

ความดันโลหิตคืออะไร
การดูแลตัวเองเมื่อเป็น โรคความดันโลหิตสูง

การดูแลตัวเองเมื่อเป็น โรคความดันโลหิตสูง

  1. บริโภคให้ครบ 5 หมู่

    • ควบคุมการบริโภคให้ครบ 5 หมู่อยู่เสมอ มุ่งเน้นเป็นผักและผลไม้ที่มีกากใยสูง ขับออกง่าย ไม่เกิดการสะสมในหลอดเลือด ธัญพืชต่างๆก็ช่วยลดความเสี่ยงความดันโลหิตสูง
  2. เลี่ยงเนื้อแดง

    • เลี่ยงเนื้อแดง เนื้อสัตว์ติดมัน อาหารรสเค็มและโซเดียมสูง รวมไปถึงของทอดๆ น้ำมันท่วมๆ และของหวานน้ำตาลสูง เพราะล้วนแล้วแต่จะเร่งให้ค่าความดันสูงมากขึ้น
  3. งดการสูบบุหรี่

    • งดการสูบบุหรี่หรือจำกัดปริมาณให้น้อยที่สุด รวมไปถึงหลีกเลี่ยงการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด
  4. หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์

    • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ เพราะเครื่องดื่มมึนเมาจะทำให้หัวใจเต้นแรงขึ้น เลือดสูบฉีดแรงขึ้น ความดันก็พุ่งขึ้นตามไปด้วย
  5. ลดน้ำหนักให้ดัชนีมวลกาย (BMI)

    • ลดน้ำหนักให้ดัชนีมวลกาย (BMI) ให้มีค่าน้อยกว่า 25 กก./ม.2 พยายามควบคุมรูปร่างให้สมสวนอยู่เสมอเพื่อป้องกันภาวะโรคอ้วนที่จะทำให้โรคความดันโลหิตสูงอาการหนักขึ้น
  6. หมั่นออกกำลังกายเบาๆให้สม่ำเสมอ

    • หมั่นออกกำลังกายเบาๆให้สม่ำเสมอ เพื่อให้หัวใจแข็งแรง เช่น ปั่นจักรยาน วิ่งเยาะๆ เต้นแอโรบิก เป็นต้น
  7. หาทางรับมือกับความเครียด

    • หาทางรับมือกับความเครียด ผ่อนคลายสมองด้วยการทำกิจกรรมที่ชอบ กินของอร่อย และพูดคุยระบายปรึกษากับผู้อื่น รวมไปถึงการพักผ่อนอย่างเพียงพออีกด้วย

ข้อแนะนำคือ ผู้ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป ก็จะมีความเสี่ยงไม่มากก็น้อย แม้ว่าจะรู้สึกสบายดีก็ควรไปตรวจสุขภาพและวัดค่าความดันโลหิตในทุกๆปี โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงสูงเช่น มีภาวะอ้วน เบาหวาน เป็นต้น

ความดันโลหิตต่ำ (Hypotension)

คือภาวะที่ความดันในหลอดเลือดแดงต่ำกว่าเกณฑ์จนผิดปกติ วัดค่าความดันเลือดต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท สามารถพบได้ในทุกเพศ ทุกวัย ทุกช่วงอายุ แต่ผู้สูงอายุจะมีความเสี่ยงมากที่สุด

สาเหตุของค่าความดันโลหิตต่ำ

สาเหตุของค่าความดันโลหิตต่ำ

  1. การที่ร่างกายขาดวิตามินบางชนิดเป็นระยะเวลานาน เช่น วิตามิซี จนทำให้หลอดเลือดแดงไม่แข็งแรง เกิดการคลายตัวมากเกินไป จนเลือดไม่สามารถไหลได้อย่างเต็มที่ได้
  2. การบริโภคน้ำที่ไม่เพียงพอ น้ำเป็นส่วนประกอบหลักของเลือด เมื่อมีภาวะขาดน้ำต่อเนื่อง จะทำให้เลือดไม่สามารถไหลวนกลับไปที่หัวใจได้เพียงพอ ส่งผลให้หัวใจเต้นบีบตัวได้น้อยลง ทำให้เกิดเป็นความดันโลหิตต่ำตามมา
  3. การขาดการออกกำลังกาย หัวใจไม่แข็งแรง การสูบฉีดเลือดก็ทำได้น้อยตามลงไปด้วย
  4. ภาวะเลือดจาง เลือดมีปริมาณน้อย ขาดความเข้มข้น ทำให้มีความดันโลหิตต่ำ
  5. ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยาลดระดับความดัน ยาขับน้ำ รวมไปถึงยาทางจิตเวชต่างๆอีกด้วย

อาการของภาวะความดันโลหิตต่ำ

ปกติแล้วจะไม่มีอาการอะไรมากนักให้เป็นกังวล แต่ถ้าหากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอขึ้นมา ผู้ป่วยจะมีอาการหน้ามืดฉับพลัน มึนงง ทรงตัวไม่อยู่ อาเจียน ตาพร่ามัว อาจเป็นลมหมดสติ ชัก

วิธีป้องกันความดันต่ำ

หลักๆแล้วจะค่อนข้างคล้ายกับความดันสูงอย่างการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย สิ่งที่ควรระวังเพิ่มเติมมีดังนี้

  1. ดื่มน้ำเพียงพอ สำคัญมากเพราะจะช่วยให้เลือดสามารถไหลและถูกสูบฉีดได้ง่ายขึ้น
  2. ไม่ควรลุกนั่งหรือเปลี่ยนท่าทางเร็วเกินไป เพราะจะทำให้ความดันตกและหน้ามืดได้
  3. พักผ่อนให้เพียงอยย่างน้อย 8 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อระบบต่างๆในร่างกายสามารถทำงานได้อย่างปกติ

โรคความดันโลหิตสูงเป็นภัยเงียบที่มักมาพร้อมกับของแถมอีกเป็นเข่งเป็นโหล หลายๆคนมักชะล่าใจแต่กว่าจะทันรู้ตัวถึงอันตรายก็สายไปเสียแล้ว ดังนั้นการวัดค่าความดันโลหิตเป็นประจำจึงสำคัญมาก อยากย้ำเตือนกันอีกครั้งว่าผู้สูงอายุควรมีเครื่องวัดความดันโลหิตติดบ้านไว้สม่ำเสมอ หากมีอาการผิดปกติต่างๆ ก็จะได้สามารถไปพบแพทย์เพื่อจัดการปัญหาได้อย่างทันท่วงทีนะคะ

 

คอมเมนต์

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ