ตอนนี้การรักษาโรคร้ายต่างๆตามโรงพยาบาลก็มีความทันสมัยและประสิทธิภาพมากขึ้นแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี เครื่องมือทางการแพทย์ ความรู้ความสามรถของหมอ รวมไปถึงยารักษา ที่ถูกพัฒนาและมีคุณภาพดีขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้การรักษาโรคต่างๆนั้นมีโอกาสหายมากขึ้นอย่างมาก แต่อีกสิ่งหนึ่งที่บรรดาผู้เชี่ยวชาญในการแพทย์ให้ความสำคัญก็คือ “กำลังใจ” เพราะถึงแม้ว่าด้านร่างกายจะดีขึ้นแต่ด้านจิตใจก็อาจจะแย่ลงได้ การมอบกำลังใจจากคนรอบตัวจึงสามารถช่วยให้สุขภาพของผู้ป่วยดีขึ้นจากทั้งด้านร่างกายและจิตใจได้ ในบางครั้งการรักษาอาจใช้เวลานานอย่างค่อยเป็นค่อยไปทำให้ผู้ป่วยที่ฮึดสู้ในตอนแรกอาจจะหมดกำลังใจลงไปบ้าง ดังนั้นจึงควรหมั่นพูดคุยและให้กำลังอยู่เสมอจนจบการรักษา จนนอาการดีขึ้น
ทำไมวิธีดูแล ผู้ป่วยเบาหวานนั้น กำลังใจถึงสำคัญ
นอกจากการดูแลตัวเองด้วยวิธีการกิน การออกกำลังกาย และการใช้ยา กำลังใจก็เป็นอีกหนึ่งวิธีดูแล ผู้ป่วยเบาหวานอีกทางเช่นกัน กำลังใจจากเพื่อน ครอบครัว นับเป็นพลังอย่างดีให้ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตแบบคนปกติได้ กล้าเปิดเผยว่าตัวเองเป็นโรคร้ายอย่างเบาหวาน และตระหนักอยู่ตลอดว่ามันไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร คนที่เป็นโรคเบาหวานที่มีอายุเยอะแล้วก็จะได้มีกำลังใจต่อสู้ ส่วนคนที่เป็นตั้งแต่เด็กก็จะได้มีระเบียบวินัยในการดูแลตนเอง ซึ่งเป็นผลดีสุขภาพในระยะยาวอีกด้วย
3 ข้อจำขึ้นใจ คุยกับผู้ป่วยอย่างไรให้ถูกต้อง
1. บอกให้ผู้ป่วยยอมรับความจริง
อย่างแรกเลยคือการยอมรับความจริงทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแล เพื่อที่จะได้รู้ตัวว่ากำลังต่อสู้กับโรคอะไร พูดตามความเป็นให้เห็นภาพชัดๆ เช่น คุณเป็นเบาหวานนะ ถ้ารักษาตามขั้นตอนที่หมอแนะนำมาแบบนี้ๆ จะมีโอกาศหายได้เลยนะ พอคนไข้รู้และเข้าใจว่าตัวเองเป็นอะไร แล้วต้องทำอะไรถึงจะหาย โอกาศก็จะเพิ่มขึ้นนั่นเอง
2. “คนดูแล” สำคัญไม่แพ้ผู้ป่วย
เป็นเรื่องปกติที่คนเรามักจะสนใจอาการและสุขภาพจิตของผู้ป่วย แต่นอกจากนั้นแล้วสุขภาพจิตของผู้ดูแลเช่น ครอบครัว หรือเพื่่อนก็สำคัญ เพราะการดูแลผู้ป่วยอาจจะต้องใช้แรงกายแรงใจอย่างมาก จนอาจล้มป่วยหรือเกิดความเครียด ความเครียดของผู้ดูแลหลักๆ เกิดจากการโทษตัวเองว่าดูแลผู้ป่วยได้ไม่ดี จนเกิดความรู้สึกผิดและเครียด คำแนะนำคืออย่าโทษตัวเองเพราะโณคร้ายนั้นบางทีเราก็คาดเดามันได้ยาก จึงควรดูแลสุขภาพกายสุขภาพจิตของตัวเองไปพร้อมกับดูแลผู้ป่วย
3. อย่าเศร้าสร้อยและอย่าตกใจเกินกว่าเหตุ
พยายามอย่าทำตัวเศร้าเกินจริง เพราะจะทำให้ผู้ป่วยสูญเสียกำลังใจและรู้สึกว่าตัวเองเป็นภาระเป็นสาเหตุของความเศร้า ถ้าหากเศร้าที่เห็นคนรักป่วย ควรขอปลีกตัวไปปรับอารมณ์ก่อน อีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรทำก็คือการปฏิบัติกับผู้ป่วยที่เคร่งครัดเกินกว่าเหตุ พยายามทำตัวให้เหมือนทีมเดียวกัน ไม่ใช่โค้ช อย่าจำกัดการกระทำบางอย่างที่เขาพอทำได้ เพราะผู้ป่วยจะรู้สึกเครียดมากขึ้นกว่าเดิม