ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) รักษาง่าย แต่อันตรายมาก

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) รักษาง่าย แต่อันตรายมาก

สารบัญเนื้อหา

โดยปกติแล้ว คนที่เป็นเบาหวานจะมีการตรวจค่า HbA1c และค่า FBS อยู่แล้ว เพื่อวัดค่าน้ำตาลในเลือด แต่ก็มีหลายคนที่ไม่ค่อยตรวจ และปล่อยปละ ละเลย ไม่มีวินัยมากพอ หรือกระทั้งลืมทานอาหาร และปัจจัยอีกหลายอย่าง จนทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ จนเกิดอันตรายมากมายที่ตามมา อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับHbA1c และค่า FBS
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia)

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia)

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือ Hypoglycemia (hypo) เป็นภาวะที่น้ำตาล หรือ กลูโคส ต่ำ เกิน 70 มิลลิกรัม / เดซิลิตร ส่วนใหญ่แล้วภาวะนี้ มีผลต่อผู้เป็นเบาหวาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าหากมีการใช้ อินซูลิน สมุนไพร หรือ อาหารเสริมที่มีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ในปริมาณที่เยอะเกินแนะนำ แต่ก็ใช่ว่าน้ำตาลในเลือดต่ำ ในคนปกติจะไม่มี ฉนั้นจะเป็นเบาหวานหรือไม่ ก็ควรรู้เรื่องนี้ไว้จะดีสุด ภาวะน้ำตาลในเลือด ต่ำนั้นรักษาได้ไม่ยาก แต่จะเป็นอันตรายอย่างมาก ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว

อาการ น้ำตาลต่ำในผู้ป่วย เบาหวาน

โดยทั่วไปแล้ว อาการ น้ำตาลต่ำในผู้ป่วย เบาหวานแต่ละคนมีอาการที่แตกต่างกัน และอาการก็อาจจะเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละครั้งที่เป็น ฉนั้นควรเช็คอาการแต่ละอย่างต่อไปนี้ ว่าคุณเข้าข่ายน้ำตาลในเลือดต่ำหรือไม่

  1. เหงื่อออก
  2. วิงเวียนศรีษะ
  3. หิวบ่อย
  4. ชารอบปาก
  5. มือสั่น ใจสั่น
  6. หงุดหงิดง่าย
  7. ผิวหนังเย็น

เมื่อเกิดอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ แล้วไม่ได้รับการรักษา อาจจะมีอาการอื่นๆตามมา อย่างเช่น

  1. หมดแรง
  2. ตาพร่ามัว
  3. สับสน
  4. ไม่สามารถโฟกัสสิ่งที่ทำได้
  5. พูดเหมือนคนเมา
  6. ง่วงนอน
  7. ชัก
  8. สลบ

อาการ น้ำตาลในเลือดต่ำ ในคนปกติ

โดยทั่วไปแล้ว อาการ น้ำตาลในเลือดต่ำ ในคนปกตินี้ อาจจะเป็นเรื่องยากหน่อย เพราะส่วนใหญ่แล้ว อาการนี้จะเป็นเฉพาะกับคนที่เป็นเบาหวาน หรือ ภาวะน้ำตาลในเลือดไม่ปกติ แต่คนปกติทั่วไปก็อาจจะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ หากมีพฤติกรรมต่อไปนี้

  1. อดอาหาร
  2. ขาดสารอาหาร
  3. ภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์
  4. การผ่าตัดลดน้ำหนัก
  5. ยาบางชนิด
  6. ปัญหาที่ตับอ่อน
  7. ปัญหาที่ไต
  8. ปัญหาที่หัวใจ

น้ำตาลในเลือด ปกติ เท่าไหร่

ระดับน้ำตาลในเลือด จะปกติ สูงหรือต่ำนั้น ขึ้นอยู่กับปริมารน้ำตาล กลูโคส ที่มีในกระแสเลือด ระดับน้ำตาลปกติ สามารถวัดได้วัดได้เมื่อหลังอดอาหาร หรือ หลังจากกินอาหาร การวัดระดับน้ำตาลในเลือดนั้น ในผู้ใหญ่ ที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวาน จะน้อยกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (หลังจากอดอาหาร 8 ชั่วโมง) หรือ 90-110 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (หลังจากทานอาหาร 2 ชั่วโมง) โปรดจำไว้ว่าระดับน้ำตาลในเลือด สามารถผันผวนได้ตลอดทั้งวัน ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้ชีวิตประจำวันและการกินต่างๆ นั้นเอง

ระดับน้ำตาลในเลือด สำหรับผู้ที่เป็นเบาหวาน

ระดับน้ำตาลในเลือดปกติสำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานจะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ และช่วงวัน มาดูกันว่า เป็นเบาหวานระดับน้ำตาลในเลือดควรที่จะอยู่ที่เท่าไหร่

ผักเชียงดาแคปซูล ชีวา ดีกว่าผักเชียงดาแบบปกติยังไง

สมุนไพร แก้ น้ำตาลในเลือด ชีวาออร์แกนิค

ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ชีวาชนิดแคปซูล ที่มีส่วนผสมของสมุนไพร 2 ชนิด ทั้ง ผักเชียงดา และ อบเชย ซึ่งตัวผักเชียงดาของเรานั้น เป็นผักเชียงดาแบบออร์แกนิคที่ปลูกโดยวิธีธรรมชาติ ไม่มีการใช้เคมีในทุกกระบวนการปลูก มีการตรวจวัดคุณภาพอยู่ตลอด และเรายังมีการวิจัยร่วมกับทีมผู้เชี่ยวชาญจาก อุทยานวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่อีกด้วย

ระดับน้ำตาลในเลือดปกติสำหรับอายุน้อยกว่า 6 ปี

อายุน้อยกว่า 6 ปี
มิลลิกรัม/เดซิลิตร

อดอาหาร

80-180

ก่อนอาหาร

100-180

1-2 ชั่วโมงหลังรับประทานอาหาร

~180

ก่อนนอน

110-200

ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 6 ปี ควรจะมีระดับน้ำตาลในเลือดประมาณ 80-200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ในแต่ละวัน ซึ่งไม่ควรตรวจเวลาเวลาปกติ เพราะปริมาณกลูโคสในช่วงเวลาปกติ จะผันผวน ด้วยเหตุนี้การตรวจเพื่อให้ได้ผลดีที่จุด จึงเป็นช่วง กลางดึก โดยพ่อแม่ของเด็กเอง

ระดับน้ำตาลในเลือดปกติสำหรับอายุ 6-12 ปี

อายุ 6-12 ปี
มิลลิกรัม/เดซิลิตร

อดอาหาร

80-180

ก่อนอาหาร

90-180

1-2 ชั่วโมงหลังรับประทานอาหาร

สูงสุด 140

ก่อนนอน

100-180

ในเด็กอายุ 6-12 ปี ควรมีระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ที่ 80-180 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ระดับน้ำตาลในเลือดจะสูงขึ้น หลังจากรับประทานอาหาร เพราะร่างกายสลายคาร์โบไฮเดรตเป็นกลูโคส ซึ่งกระจายไปทั่วกระแสเลือด เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำตาลในเลือดเด็กสูงมากจนเกินไปก่อนจะนอน ให้ลองจำกัดขนบขบเคี้ยวก่อนจะเข้านอน

ระดับน้ำตาลในเลือดปกติสำหรับอายุ 13-19 ปี

อายุ 13-19 ปี
มิลลิกรัม/เดซิลิตร

อดอาหาร

70-150

ก่อนอาหาร

90-130

1-2 ชั่วโมงหลังรับประทานอาหาร

สูงสุด 140

ก่อนนอน

90-150

ในวัยรุ่น 13-19 ปีนั้นระดับน้ำตาลในเลือดเฉลี่ยควรอยู่ที่ 70-150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร วัยรุ่นนั้นเป็นเรื่องยากมากที่สุดมในคนที่เป็นเบาหวาน เพราะการเป็นเบาหวานนั้นต้องมีความรับผิดชอบและต้องควบคุมพฤติกรรมที่ไม่ปกติ สำหรับวัยรุ่นส่วนใหญ่ ควรหมั่นออกกำลัง ควบคุมอาหาร และใช้ยาเบาหวาน ถ้ามี

ระดับน้ำตาลในเลือดปกติสำหรับผู้ใหญ่อายุ 20 ปีขึ้นไป

อายุ 20 ปี ขึ้นไป
มิลลิกรัม/เดซิลิตร

อดอาหาร

น้อยกว่า 100

ก่อนอาหาร

70-130

1-2 ชั่วโมงหลังรับประทานอาหาร

น้อยกว่า 180

ก่อนนอน

100-140

ในผู้ใหญ่ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไปนั้น จะมีระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า 100-180 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เมื่อตื่นขึ้นมาตอนเช้า น้ำตาลในเลือดควรจะต่ำที่สุด เพราะไม่ได้กินอาหารมา 8 ชั่วโมงแล้ว

น้ำตาลต่ำ ตอนกลางคืน

น้ำตาลต่ำ ตอนกลางคืน เกิดได้จากหลายปัจจัยมาก ตั้งแต่การออกกำลังกายใกล้เวลานอนมากเกินไป ไปจนถึงการดื่มแอลกอฮอล์ในตอนเย็น หากไม่ได้รับการรักษาจนข้ามคืน อาจนำไปสู่อาการปวดหัวและนอนไม่หลับได้ ในกรณีที่รุนแรง อาจรุนแรงถึงขั้น ชัก หรือเสียชีวิต ฉนั้นควรเช็คตัวเองก่อนนอนดังต่อไปนี้ เมื่อเป็นเบาหวาน

  1. ตรวจน้ำตาลในเลือดก่อนนอน
  2. เช็คอาการตัวเองก่อนเข้านอนว่าเข้าข่ายน้ำตาลต่ำหรือไม่
  3. ห้ามอดอาหารเย็น
  4. หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายมากจนเกินไป ในช่วงดึก
  5. งดดื่มแอลกอฮอล์ในเวลากลางคืน
  6. เตรียมของที่สามารถเพิ่มระดับน้ำตาลไว้ข้างเตียง เผื่อฉุกเฉิน

น้ำตาลต่ำในผู้ สูงอายุ

ในผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานนั้น มีแนวโน้มที่จะมีความเสี่ยงสูงต่อภาวะน้ำตาในเลือด เมื่อเทียบกับคนหนุ่มสาว ภาวะน้ำตาลในเลือดที่รุนแรง อาจนำไปสู่เหตุการณ์หลอดเลือดเฉียบพลันร้ายแรงต่างๆ เช่น หลอดเลือดในสมอง , กล้ามเนื้อหัวใจตาย , หัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน และ หัวใจเต้นผิดปกติ

วิธีการรักษาระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ

วิธีการรักษาด้วยตัวเอง

หากมีอาการ หรือรู้สึกว่าตัวเองน้ำตาลต่ำควรทำตามขั้นตอนต่อไปนี้

  1. ดื่มหรือกินขนมที่มีน้ำตาล รวมไปถึงผลไม้ด้วย (ไม่จำเป็นต้องกินหลากหลายก็ได้)
  2. ทดสอบระดับน้ำตาลในเลือดเมื่อผ่านไปแล้ว 10 นาที ถ้าดีขึ้น ให้ไปขั้นตอนที่ 3 แต่ถ้าเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย หรือไม่ดีขึ้นเลย ให้กลับไปกินของหวานอีกครั้ง และ ตรวจอีกครั้งหลังจากผ่านไป 10-15 นาที
  3. อาจต้องกินมื้ออาหารหลักเลยหากใกล้เวลาแล้ว (อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต) หรือไม่ก็ทานขนมปัง ขนมปังปิ้ง บิสกิต 2-3 ชิ้น หรือนมวัวซักแก้ว

วิธีการรักษาคนที่หมดสติ หรือ เกิดการ ง่วงนอน

  1. ให้นอนหงาย จัดท่าเบื้องต้น และอย่าใส่อะไรในปาก หรือจัด
  2. โทรเรียกรถพยาบาล หากไม่มียาฉีด กลูคากอน
  3. หากมีกบูคากอนและรู้วิธีฉีด ให้ฉีดให้ในทันที
  4. หากตื่นขึ้นมาภายใน 10 นาที หลังจากฉีดกลูลากอน ให้ไปขั้นตอนต่อไป แต่ถ้าไม่ดีขึ้นภายใน 10 นาที ให้โทรเรียกรถพยาบาลในทันที
  5. หากตื่นตัวเต็มที่ และสามารถกินและดื่มได้แล้ว ให้ทานขนมที่มีคาร์โบไฮเดรต
  6. ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดยังลดลงอยู่ หรือมีการอาเจียนให้รีบเรียกรถพยาบาลในทันที

วิธีการรักษาคนที่หมดสติ หรือ เกิดการ ง่วงนอน

  1. ให้นอนหงาย จัดท่าเบื้งต้น และอย่าใส่อะไรในปาก หรือจัด
  2. โทรเรียกรถพยาบาล หากไม่มียาฉีด กลูคากอน
  3. หากมีกบูคากอนและรู้วิธีฉีด ให้ฉีดให้ในทันที
  4. หากตื่นขึ้นมาภายใน 10 นาที หลังจากฉีดกลูลากอน ให้ไปขั้นตอนต่อไป แต่ถ้าไม่ดีขึ้นภายใน 10 นาที ให้โทรเรียกรถพยาบาลในทันที
  5. หากตื่นตัวเต็มที่ และสามารถกินและดื่มได้แล้ว ให้ทานขนมที่มีคาร์โบไฮเดรต
  6. ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดยังลดลงอยู่ หรือมีการอาเจียนให้รีบเรียกรถพยาบาลในทันที

วิธีการรักษาคนที่มีอาการชัก

ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ หากมีอาการชักที่ของคนที่เป็นเบาหวาน

  1. หาที่นุ่มๆ เพื่อให้ผู้ป่วยนอน ย้ายของอันตรายที่อยู่ใกล้ๆออกไป และอย่าให้ผู้ป่วยทำร้ายตัวเอง
  2. โทรเรียกรถพยาบาลหากชักเกิน 5 นาที
  3. หลังจากหยุดชัก ให้หาของหวานๆให้ทาน

วิธีป้องการภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

ในคนปกติน้ำตาลในเลือดต่ำอาจจะไม่ได้อันตรายมากนัก แต่เมื่อคนเป็นเบาหวานแล้วเกิดภาวะนี้ควรรีบรักษาจะดีที่สุด แต่ทางที่ดีควรป้องกันระดับน้ำตาลในเลือดต่ำจะดีที่ขึ้น

  1. ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ
  2. พกขนมหวาน หรือเครื่องดื่มติดตัวเสมอ แม้ตอนจะนอน
    อย่าอดอาหาร
  3. ระวังเรื่องเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  4. ระมัดระวังเมื่ออกกำลังกาย (การกินของว่างที่มีคาร์โบไฮเดรตก่อนออกกำลังกายเช่วยลดความเสี่ยงได้)

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

www.nhs.uk

www.singlecare.com

www.everydayhealth.com

www.ncbi.nlm.nih.gov

คอมเมนต์

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ