พืชกัญชง กัญชา พืชที่ถูกจัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 เช่นเดียวกับใบกระท่อม แต่ใบกระท่อมนั้นได้ถูกปลดล็อคไปก่อนหน้าแล้วในวันที่ 24 สิงหาคม 2564 ซึ่งก็มีการนำใบกระท่อมไปใช้อย่างแพร่หลายตามท้องตลอด รวมทั้งมีการนำใบกระท่อมแก้เบาหวาน และ ใบกระท่อม ลดความอ้วนอีกด้วย! และเมื่อใบกระท่อมได้ปลดล็อคแล้ว ต่อไปก็คิวของกัญชา ซึ่งมีการประกาศจากกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2565 เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 และจะมีผลบังคับใช้ทันทีในวันที่ 9 มิถุนายน 2565 ทำให้การผลิต นำเข้า ส่งออก เสพ จำหน่าย ครอบครอง หรือการกระทำอื่นๆเกี่ยวกับกัญชา ก่อนวันที่ 9 มิถุนายน 2565 จะไม่มีความผิดอีกต่อไปแล้ว!
กัญชาดองน้ำผึ้ง ประโยชน์ 40 อย่าง ที่โซเชียลกล่าวอ้าง
ก่อนจะไปดูว่ากัญชาดองน้ำผึ้ง ประโยชน์ 40 อย่างมีอะไรบ้าง ทางชีวาขอแจ้งให้ทราบก่อนว่า ข้อมูลต่อไปนี้ ยังไม่ได้มีการวิจัย หรือทดลอง ที่เป็นที่น่าเชื่อถือเท่าไหร่นัก
สูตรนี้เป็นสูตรจากทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์บ้านหนองห้าง หมู่ที่ 8 ต.น้ำผุด อ.เมือง จ.ตรัง
ที่ได้รับอนุญาตให้ปลูกกัญชารุ่นแรกจากกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2564 จำนวน 50 ต้น และรุ่นที่นำมาทำ เป็นรุ่นที่ 2 แล้ว จึงได้ทำมาทดลองแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ โดยกัญชาดองน้ำผึ้งนั้นได้มีการศึกษามาซักระยะหนึ่งรวมทั้งประสบการณ์จากผู้ที่ใช้กัญชาดองน้ำผึ้งลดความเครียด หลังบริโภคไประยะหนึ่ง การตอบสนองก็ดีขึ้น จึงคิดว่าการแปรรูปกัญชาดองน้ำผึ้งจึงเป็นอีกผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองตลาดในทางที่ดีได้ สำหรับกัญชาดองน้ำผึ้ง ประโยชน์ทั้ง 40 อย่างนั้นได้มีการแชร์สรรพคุณที่เพจ มิสเตอร์กัญชา-Mr.Ganja และได้มีการพูดถึงกันอย่างแพร่หลาย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น โปรดใช้วิจารณญาณในการเชื่อเรื่องของ สรรพคุณ อาหารเสริม หรือ สมุนไพรต่างๆ ที่ยังไม่ได้มีการวิจัยที่แน่นอน และหาข้อมูลให้ดีก่อนเลือกใช้
- อัลไซเมอร์ หลงลืม
- หลับไม่สนิท หลับยากสะดุ้งบ่อย
- เส้นเลือดสมองตีบ
- อัมพฤกษ์อัมพาต
- ความดันสูง
- ริดสีดวงทวาร
- เบาหวาน
- อ้วนผิดปกติ
- กล้ามเนื้อกระตุก
- ซึมเศร้า
- เหน็บชา
- ไมเกรน
- ปวดประจำเดือน
- สมองพิการ
- ลมชัก
- ปลอกประสาทเสื่อม
- ติดมอร์ฟีน
- เบื่ออาหาร
- พาร์กินสัน
- แพ้เคมีบำบัด
- ภูมิแพ้ตัวเอง
- มะเร็ง(เจ็บปวดบวมเป็นแผล)
- ฝี หนอง อักเสบ
- ต้อหินในตา
- ตับพิการจากพิษสุรๅ
- แผลกดทับ รอยช้ำ
- สะเก็ดเงิน
- เก๊าท์
- เครียด วิตกกังวล
- ไฮเปอร์ สมาธิสั้น
- น้ำท่วมแกนสมอง
- ลำไส้อักเสบ
- กล้ามเนื้ออักเสบ
- ปวดตามร่างกาย
- ขจัดฝันร้าย
- กลากเกลื้อนตามผิว
- แผลสดจากเบาหวานแห้งได้
- ภูมิแพ้ต่างๆ
- ขยายหลอดลม ลดการหดตัว
- แก้อาการบิด ปวดท้องท้องร่วง
โปรดใช้วิจารณญาณในการเชื่อเรื่องของ สรรพคุณ อาหารเสริม หรือ สมุนไพรต่างๆ ที่ยังไม่ได้มีการวิจัยที่แน่นอน และหาข้อมูลให้ดีก่อนเลือกใช้
สูตรกัญชาดองน้ำผึ้ง
วัตถุดิบ
- น้ำผึ้ง 1 ขวด 750 มิลลิลิตร
- กัญชา
- กิ่ง
- ก้าน
- ใบ
- ราก
- ดอก
วิธีทำ
- นำกัญชาทั้ง 5 (กิ่ง ก้าน ใบ ราก ดอก) มาหั่นฝอยๆ ประมาณ 2-3 นิ้ว
- นำกัญชาทั้ง 5 ที่หั่นแล้วไปผึ่งลมจนแห้ง ระวังอย่าให้โดนแดดเพราะจะทำให้สรรพคุณลดลง (ผึ่งประมาณ 8-10 วัน ถ้ารีบอาจใช้การอบได้)
- นำกัญชาทั้ง 5 ที่แห้งแล้วไปดองกับน้ำผึ้ง
- ทิ้งไว้ประมาณ 15-30 วัน ยิ่งนานยิ่งดี
- รับประทาน วันละ 1 ช้อนโต๊ะ
ข้อควรระวัง
ถ้าทานแล้วรู้สึกอาการไม่ปกติ เช่น ตาลาย ให้หยุดทานทันที และถ้าหยุดทานแล้วยังรู้สึกอยากทาน ห้ามตัวเองไม่ได้ให้รีบพบแพทย์เพื่อหาทางรักษาอาการเสพติด
กัญชา สรรพคุณมีอะไรบ้าง ?
มีการวิจัยกัญชาอย่างกว้างขวางทั้งในสัตว์และมนุษย์ ที่หอสมุทแห่งชาติร็อควิลล์ ไพค์จากประเทศสหรัฐอเมริกาได้รวบรวมไว้พบว่าในกัญชาประกอบไปด้วยสารเคมีที่ซับซ้อนมากกว่า 400 ชนิด ซึ่งมีสารมากกว่า 60 ชนิดที่ส่งผลกระทบตรงข้ามกัน กัญชามีการใช้แพร่หลายทั่วโลก ส่วนใหญ่จะเป็นการใช้เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิตต่างๆ โดยเฉพาะในเด็ก แต่กัญชาไม่ได้ให้แค่ผลทางลบเพียงอย่างเดียว ยังมีการค้นพบข้อดีของกัญชาอีกหลายอย่าง และกัญชาออกฤทธิ์ในแต่ละบุคคลแตกต่างกันไป ควรศึกษาให้ดีก่อนนำมาใช้ หรือทางที่ดี ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนใช้จะดีที่สุด
- ต้านการอักเสบ
- ใช้เป็นยากันชัก
- ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
- รักษาโรคจิตโรคประสาท
- ช่วยเรื่องความจำสั้น
- มีสารต้านอนุมูลอิสระป้องกันระบบประสาท
- เป็นยาแก้พิษ
- ทำให้ใจเย็นขึ้น
- ปรับสมดุลความดันโลหิต
- ลดความอยากอาหาร
- ลดความกระหาย
- รักษาเบาหวาน
- รักษาต้อหิน
ข้อเสียของกัญชา
อาหารหรือสมุนไพรต่างๆ ถ้าใช้มากเกินไป ล้วนส่งผลด้านลบเสมอ ไม่ใช่ว่าสมุนไพรนี้ลดน้ำตาลได้ดีมากแล้วก็ใช้ในปริมาณมากเพื่อจะลดน้ำตาล นั่นอาจส่งผลให้น้ำตาลในเลือดต่ำได้ ซึ่งนั่นอันตรายมากๆ ฉนั้น การจะกินจอะไรควรกินแต่พอดี ไม่ควรกินมากเกินไป และสำหรับกัญชาถ้าใช้มากเกินไปอาจมีอาการเหล่านี้
- ประสาทหลอน
- อาการชัก
- ตาลาย
- เสพติด
- น้ำกามเคลื่อน(ในผู้ชาย)
- ตกขาว(ในผู้หญิง)
- ความจำเสื่อม
- สับสน
- วิตกกังวล
- เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
- ทำให้ฮอร์โมนในเพศชายลดลง
- ทำให้ปริมาณอสุจิน้อยลง
กัญชา รักษาเบาหวาน
มีการวิจัยและศึกษาจากสัตว์และมนุษย์บางอย่างเกี่ยวกับการใช้กัญชา รักษาเบาหวานโดยกลุ่มพันธมิตรอเมริกันเพื่อกัญชา (AAMC) ได้ชี้ให้เห็นว่ากัญชา อาจช่วยรักษาเบาหวานได้เพราะสรรพคุณเหล่านี้
- ช่วยรักษาเสถียรภาพของน้ำตาลในเลือด
- ระงับการอักเสบของหลอดเลือดแดง
- ป้องกันการอักเสบของเส้นประสาทและบรรเทาอาการปวดของ Neuropathy (ภาวะที่แทรกซ้อนที่พบบ่อยที่สุดของเบาหวาน)
- ลดความดันและความเสี่ยงเรื่องหัวใจ
- ทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น
- บรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ
- ใช้ทำครีมทา เพื่อบรรเทาอาการปวดประสาทและอาการเสียวซ่านในมือและเท้าได้
น้ำผึ้ง สรรพคุณมีอะไรบ้าง
น้ำผึ้งดิบถูกนำมาใช้เป็นยามาตั้งแต่โบราณแล้ว และมีประโยชน์หลากหลายต่อสุขภาพอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตามน้ำผึ้งส่วนใหญ่ตามร้านสดวกซื้อต่างๆจะผ่านการพาสเจอร์ไรส์ด้วยความร้อนสูงเพื่อฆ่ายีสต์ที่ไม่ต้องการ มีการปรับปรุงสีและขจัดการตกผลึก เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาน้ำผึ้ง ทำให้สารอาหารต่างๆถูกทำลายไป การเลือกน้ำพึ้งดิบที่สดใหม่ และไว้ใจได้อาจจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าในการทานน้ำผึ้ง
- มีสารต้านอนุมูลอิสระเทียบเท่าผักและผลไม้
- ต้านการอักเสบ
- บรรเทาอาการไอ
- มีส่วนช่วยควบคุมน้ำหนัก
- เสริมสร้างระบบภูมิคุกกัน
- บำรุงผิวหน้า
- ช่วยทำให้ความจำดีขึ้น
- รักษารังแค
- ช่วยในการนอนหลับ
- บรรเทาอาการไซนัส (อาการหวัด)
- ช่วยโรคเหงือ
- ถือว่าเป็นเครื่องดื่มชูกำลังจากธรรมชาติ
- ป้องกันและควบคุมกลากเกลื้อน
ข้อเสียของน้ำผึ้ง
ทุกสิ่งอย่าง ล้วนมีทั้งข้อดีและข้อเสียในตัวเอง ถ้ารู้จักทานให้พอเหมาะนั่นคือดี แต่ถ้ามากไป นั่นจะเริ่มส่งผลร้ายแล้ว และน้ำผึ้งก็เป็น 1 ในนั้นด้วยเช่นกัน ปริมาณที่แนะนำต่อวันจะอยู่ที่ 10 ช้อนโต๊ะสำหรับในคนปกติ
- อาจเกิดปัญหาที่ทางเดินอาหาร
- ท้องอืด
- ท้องผูก
- อาจทำให้อ้วน
- อาจแพ้ในบางคน
- อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเลือดออกเพิ่มขึ่้น
- อาจทำให้แพ้อินซูลิน
- ทำให้ฟันผุ
- ไม่แนะนำสำหรับทารกและสตรีมีครรภ์
- คนเป็นเบาหวานควรควบคุมปริมาณ
น้ำผึ้งกับคนเป็นเบาหวาน
น้ำผึ้ง คือผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากน้ำหวานของดอกไม้ และในน้ำผึ้งมีส่วนผสมของน้ำตาลหลากหลายชนิด เช่น กลูโคส ฟรุกโตส ซึ่งดัชนี้น้ำตาลในน้ำผึ้งจะอยู่ 60 ซึ่งจัดว่าอยู่ในช่วงปานกลาง แต่อย่างไรก็ดี ผู้ที่เป็นเบาหวานจำเป็นต้องควบคุมระดับน้ำตาลไม่ให้มากจนเกินไป ปริมาณที่แนะนำสำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานที่ต้องการทานน้ำผึ้งไม่ควรจะเกิน 2 ช้อนชาต่อวัน เพราะน้ำตาลกับน้ำผึ้งถือมีส่วนประกอบเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดียวกัน จึงสามารถทานได้ แต่ไม่ควรเยอะเกินไป น้ำผึ้งนั้นถ้าทานในปริมาณที่พอเหมาะอาจเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เป็นเบาหวานได้ เพราะมีผลกระทบต่อน้ำตาลในเลือดที่น้อยกว่าน้ำตาลทราย แต่อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนหันมาทานน้ำผึ้งจะดีที่สุด
ฉนั้นกัญชาดองน้ำผึ้ง ประโยชน์อาจจะมีมากถ้าทานแค่เพียงวันละ 1 ช้อนโต๊ะ และไม่มากเกินกว่านี้ เพราะถ้าเกิดทานมากกว่านี้อาจจะส่งผลเสียมากกว่าผลดีก็เป็นได้แต่ถ้าคิดว่าไม่สามารถคุมได้อาจจะต้องพึ่งอาหารเสริม เบาหวานอย่าง ชีวา เพื่อให้น้ำตาลจากผักเชียงดาในอาหารเสริมชีวาถูกดูดซึมแทนน้ำตาลตัวจริง เพื่อเลี่ยงระดับน้ำตาลที่เพิ่มขึ้น แต่ก่อนทานควรปรึกษาทีมผู้เชี่ยวชาญของชีวาก่อน เพื่อให้ทีมผู้เชี่ยวชาญได้วินิจฉัยก่อนว่าคุณสามารถทานได้หรือไม่
แถมส่งท้าย ปลดล็อคกันชาแล้วสามารถทำอะไรได้บ้าง
- จำหน่ายเมล็ดพันธ์ กิ่งพันธ์ ทำสารสกัด ต้องแจ้งขออนุญาตก่อน
- ส่วนของกัญชา จำหน่ายได้ ไม่ต้องขออนุญาต
- จำหน่ายได้ส่วนเฉพาะที่กำหนดต่อไปนี้ ได้แก่ เมล็ดกัญชง น้ำมันจากเมล็ดกัญชง โปรตีนจากเมล็ดกัญชง อาหารที่ใช้เปลือก ลำต้น เส้นใย กิ่งก้าน รากและใบ ไม่รวมยอดหรือช่อดอก
- สามารถนำส่วนของกัญชง กัญชา มาใช้ในอาหารได้
- โปรดระวังการสูบกัญชาในที่สาธารณะ เพราะกลิ่นควันจากกัญชา ถ้ารบกวนผู้อื่น แล้วถูกแจ้งเหตุรำคาญ และถ้าไม่แก้ไข มีความผิดตาม พ.ร.บ. การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 โทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 25,000 บาท
วิธีลงทะเบียนปลูกกัญชาผ่านแอพได้ทั้ง Android และ IOS
คลิกแพรตฟอร์มด้านล่าง
- ลงทะเบียน
- จดแจ้งตามวัตถุประสงค์
- รับเอกสารจดแจ้งอิเล็กทรอนิกส์
อีกช่องทาง สามารถลงทะเบียนได้ที่เว็บไซต์ plookganja.fda.moph.go.th หรือ plookganjaweb.fda.moph.go.th หรือสอบถาม Call center โทร 1556 กด 3
ขณะนี้มีคนกำลังลงทะเบียนเป็นจำนวนมาก ระบบอาจช้าหรือค้างในบางทีได้
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
กันชาดองน้ำผึ้ง
กัญชาและเบาหวาน
หอสมุดแพทยศาสตร์แห่งชาติ ร็อควิลล์ ไพค์สหรัฐอเมริกา
แพลตฟอร์มด้านสุขภาพ Diabetes.co.uk
ศูนย์เฝ้าระวังยาเสพติดและยาเสพติดแห่งยุโรป (EMCDDA)
น้ำผึ้งและเบาหวาน
เว็บข่าวสารสุขภาพที่น่าเชื่อถือ webmd