อินซูลิน ฮอร์โมนที่มีความเกี่ยวข้องกับอาการเบาหวานโดยตรง ถ้าอินซูลินในร่างกายมีน้อยเกินไป จะทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น เกินกว่าปกติอย่างต่อเนื่้อง และน้ำตาลในเลือดจะสูงยิ่งขึ้นหากอินซูลินยังผิดปกติอยู่ และถ้ายังปล่อยไว้ให้เรื้อรัง จะส่งผลให้เกิดการทำลายหลอดเลือด และนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานอื่นๆที่ตามมาอีกมากมาย และถ้าหากยังปล่อยไว้เรื้อรังจนไม่รักษา จนกลายเป็นเบาหวานแห้ง อาจจะยิ่งรักษายากเข้าไปอีก อ่านเพิ่มเติม
อินซูลิน คืออะไร (What Is Insulin?)
มีผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานแรกเริ่มหลายๆคนที่ยังคงไม่รู้ว่า อินซูลิน คืออะไร เนื่องจากมีจำนวนคนเป็นเบาหวานเพิ่มขึ้นทุกๆปี และยังไม่ได้ทำความเข้าใจในโรคนี้ดีพอ อินซูลิน คืออะไร (What Is Insulin?) อินซูลิน คือฮอโมนส์ที่ตับอ่อนผลิตออกมาเพื่อยับยั้งและควบคุมน้ำตาลในกระแสเลือดให้ปกติ แน่นอนว่าหากขาดอินซูลินไปจะทำให้ร่างกายควบคุมน้ำตาลไม่ได้จนเกิดกลายเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และ 2 นั่นเอง ดังนั้นการที่จะรักษาโรคเบาหวาน การฉีดอินซูลินเข้าไปในร่างกายจึงเป็นการรักษาที่เห็นผลมากที่สุด
อินซูลิน หลั่งตอนไหน
อินซูลินจะถูหลั่งออกมากจากเซลล์เบต้าในตับอ่อนของคุณ เพื่อตอบสนองต่อกลูโคสที่มีการเพิ่มขึ้นในกระแสเลือด หลังจากรับประทานอาหาร คาร์โบไฮเดรตจะถูกแบ่งออกเป็นกลูโคส และถูกส่งเข้าสู่กระแสเลือด ตับอ่อนจะตรวจพบการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำตาลในกระแสเลือด และเริ่มหลั่งอินซูลินออกมา
ภาวะดื้ออินซูลิน คืออะไร (insulin resistance)
การเป็นภาวะดื้ออินซูลิน คือ ภาวะที่มีปริมาณอินซูลินในกระแสเลือดอยู่ตลอดเวลา แต่เซลล์ในร่างกายมีการตอบสนองต่ออินซูลินลดลง และส่งผลให้ร่างกายพยายามที่จะปรับตัวและเริ่มหลั่งอินซูลินเพิ่มมากยิ่งขึ้น บางคนที่มีภาวะนี้อาจจะยังไม่เกิดเป็นเบาหวาน เช่นคนอ้วนทั่วไป ที่ตรวจแล้วแต่ยังไม่พบเบาหวาน เนื่องจากภาวะนี้ ตับอ่อนจะทำงานหนักขึ้น เพื่อหลั่งอินซูลินให้เพียงพอ อาจจะดูไม่เป็นอะไรเพราะว่าร่างกายก็หลั่งอินซูลินให้เพียงพออยู่แล้ว แต่ในระยะยาว ถ้าเกิดยังเป็นภาวะดื้ออินซูลินอยู่อย่างต่อเนื่อง ไม่ได้รับการดูแลรักษา การหลั่งอินซูลินจะค่อยๆลดลง และไม่เพียงพอในที่สุด ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นตามมา และเกิดเป็นโรคเบาหวานได้ในที่สุด
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีภาวะดื้ออินซูลิน จะเป็นเบาหวานหวานหรือไม่เป็นก็ได้ เพราะไม่ใช่ว่าพบเมื่อพบภาวะนี้แล้วจะเป็นเบาหวานเลย แต่จะขึ้นอยู่กับระยะเวลาของการเป็นภาวะนี้ ซึ่งโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มักจะเกิดจากการดื้ออินซูลินเสมอ
อินซูลินมีกี่ประเภท
อินซูลินมีหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทจะออกฤทธิ์ต่างกัน มีทั้งแบบโครงสร้างที่ร่างกายผลิตเองได้ ฮิวแมนอินซูลิน (Human insulin) และแบบดัดแปลงให้ออกฤทธิ์ตามต้องการ อินซูลินอะนาล็อก (Insulin analog) ซึ่งจะสามารถแบ่งได้ 4 ประเภท ดังนี้
1.อินซูลินแบบออกฤทธิ์เร็ว (Rapid-acting insulin)
จะเริ่มออกฤทธิ์ภายในเวลา 15-30 นาทีหลังฉีด และมักจะฉีดก่อนมื้ออาหาร หรือหลังมื้ออาหารไม่เกิน 15 นาที
2.อินซูลินแบบออกฤทธิ์สั้น (Short-acting insulin)
จะเริ่มออกฤทธิ์ภายในเวลา 30-60 นาทีหลังฉีด และออกฤทธิ์ 5-8 ชั่วโมง
3.อินซูลินแบบนานปานกลาง (Intermediate-acting insulin)
จะเริ่มออกฤทธิ์ภายในเวลา 1-2 ชั่วโมงหลังฉีด ออกฤทธิ์ 14-16 ชั่วโมง
4.อินซูลินแบบออกฤทธิ์ยาว (Long-acting insulin)
จะเริ่มออกฤทธิ์ภายใน 2 ชั่วโมงหลังฉีด ออกฤทธิ์อย่างน้อย 24 ชั่วโมง
ฉีดอินซูลิน กับ กินยา ต่างกัน อย่างไร
มีหลายคนสงสัยว่าการฉีดอินซูลิน กับ กินยา ต่างกัน อย่างไร ซึ่งหากพึ่งพบว่าเป็นโรคเบาหวาน แพทย์อาจจะแนะนำให้ทานยา เพื่อจัดการกับน้ำตาลในเลือด ซึ่งยาเหล่านี้ ไม่ได้เข้าไปแทนที่อินซูลิน แต่จะช่วยให้ร่างกายผลิดตอินซูลินได้มากขึ้น และ ช่วยลดระดับน้ำตาล เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม ยารักษาเบาหวานนั้น มีมากมายหลายแบบ ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพยท์ว่าจะให้กินยาไหนเพื่อรักษา เพราะว่า ยาแต่ละอย่างอาจส่งผลข้าางเคียงมากกว่าผลดี อย่างเช่น หัวใจล้มเหลว ,โลหิตจาง , ปวดข้อ , ทำให้ตับอ่อนจะอักเสบได้ง่าย , คลื่นไส้ , อาเจียน , ท้องร่วง , ปวดหัว เป็นต้น แต่กลับกัน การฉีดอินซูลิน เป็นสิ่งที่ร่างกายต้องการอยู่แล้ว เลยส่งผลต่อร่างกายน้อยกว่า ถ้าได้รับในปริมาณที่พอเหมาะ
อินซูลินมากเกินไป อาจนำไปสู่ การช็อคอินซูลิน (insulin shock) หรือ ช็อคน้ำตาล
อินซูลินนั้น จำเป็นต่อคนที่เป็นเบาหวาน แต่การที่ฉีด หรือ กิน มากจนเกินไป อาจจะด้วยเจตนา หรือ ไม่เจตนา จนทำให้ได้รับอินซูลินเข้ามาในร่างกายมากเกินไป อาจนำไปสู่การเสียชีวิตในที่สุดได้ การได้รับอินซูลินมากเกินไปจำเป็นต้องได้รับการรักษาจากแพทย์ผู้ชี่ยวชาญในทันที แต่ถึงแม้จะได้รับการรักษาทัน ก็ยังถือว่าอันตราย และเป็นเรื่องฉุกเฉินทางการแพทย์อยู่
สาเหตุของการได้รับอินซูลินมากเกินไป
- ไม่ได้สนใจภาวะน้ำตาลในเลือดของตัวเอง
- ใช้อินซูลินมากเกินไปโดยไม่ได้ตั้งใจ
- พลาดมื้ออาหาร
- ออกกำลังกายผิดปกติมากจนเกินไป
อาการของคนได้รับอินซูลินมากเกินไป
- ชัก
- หมดสติ
- เสียชีวิตในที่สุด
การรักษาอินซูลินมากเกินไป เบื้องต้น
- ให้ฮอร์โมนกลูคากอน เพื่อต่อต้านผลกระทบของอินซูลินและรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด
- หากมีการหมดสติ และไม่มีฮอร์โมนกลูคากอนเลย ควรรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด
ฮอร์โมนกลูคากอน ขั้วตรงข้ามของ ฮอร์โมนอินซูลิน
ฮอร์โมนอินซูลินนั้นทำหน้าที่เข้าไปเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อให้ระดับน้ำตาลกลูโคสในร่างกายไม่ให้สูงมากจนมากเกินไป และ เจ้าตัวฮอร์โมนกลูคากอน ก็ทำหน้าที่เพิ่มระดับน้ำตาลกลูโคสในร่างกาย เพื่อไม่ให้ระดับน้ำตาลในร่างกายต้ำจนเกินไป สร้างความสมดุลของระดับน้ำตาลในกระแสเลือด ซึ่งถ้าขาดอย่างใดอย่างนึงไป ก็อาจทำให้ร่างกายขาดสมดุลได้
จะเกิดอะไรขึ้นถ้าอินซูลินน้อยเกินไป
อินซูลินมีหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือดให้ปกติ ถ้าเกิดอินซูลินน้อยเกินไป หรือทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร ร่างกายจะไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้ได้เพียงพอ และทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ในผู้ที่เป็นเบาหวาน การผลิตอินซูลินจะยิ่งน้อยมาก หรือบางรายอาจถึงขั้นไม่มีเลย เงื่อนไขนี้จะเกิดขึ้นต่อเมื่อเซลล์เบต้าทำให้อินซูลินถูกทำลายโดยแอนติบอดี้ และเนื่องจากร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ในปริมาณที่เพียงพอ จะทำให้ร่างกายไม่สามารถย้ายกลูโคสจากเลือดเข้าสู่เซลล์ได้ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง และถ้าหากน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป กลูโคสส่วนเกินก็จะเข้าไปปนในปัสสาวะ จะทำให้ปัสสาวะบ่อยขึ้น และกระหายน้ำบ่อยๆ
วิธีฉีดอินซูลินเอง
สำหรับคนที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 และ ชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ด้วยการทานยา จำเป็นต้องรู้การเรื่องการฉีดอินซูลิน เพื่อให้ง่ายต่อการดูแลตัวเอง และฉีดอินซูลินได้อย่างถูกต้อง
ชนิดของยาฉีดอินซูลิน
1.ยาฉีดอินซูลินชนิดน้ำขุ่น
ส่วนใหญ่ยาฉีดอินซูลินชนิดน้ำขุ่นจะเป็นยาฉีดชนิดออกฤทธิ์ปานกลาง ออกฤทธิ์พื้นฐานเพื่อควบบคุมระดับน้ำตาลระหว่างมื้ออาหาร ซึ่งเวลาจะใช้ต้องคลึงขวดยาเบาๆ เพื่อให้น้ำยาผสมกันดีก่อนฉีด ห้ามเขย่าเด็กขาด เพราะจะทำให้เกิดฟองอากาศได้
2.ยาฉีดอินซูลินชนิดน้ำใส
ส่วนใหญ่ยาฉีดอินซูลินชนิดน้ำขุ่นจะเป็นแบบออกฤทธิ์สั้น ใช้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงขึ้นหลังรับประทานอาหาร โดยก่อนใช้ไม่จำเป็นต้องคลึงขวด สามารถใช้ได้เลย
ตำแหน่งฉีดอินซูลิน
จำเป็นต้องรู้ตำแหน่งฉีดอินซูลินเพื่อประสิทธิภาพการดูดซึมยา ซึ่งควรฉีดให้ห่างจากรอบดือ 1-2 นิ้ว และไม่ควรฉีดตำแหน่งเดิมทุกวัน ตำแหน่งใหม่ควรมีระยะห่างจากครั้งสุดท้ายประมาณ 1 นิ้ว และไม่ควรประคบร้อน หรือนวดบริเวรที่จะฉีดยา เพราะจะทำให้ยาถูกดูดซึมมากจนเกินไป ซึ่งตำแหน่งการฉีดอินซูลินสามารถเลือดฉีดได้ตาม บริเวณ ต้นแขน , หน้าท้อง , สะโพก และหน้าขา
อินซูลินควรฉีดเวลาไหน
การฉีดอินซูลินนั้นสัมพันธ์กับมื้ออาหารแต่ละมื้อและชนิดของยาแต่ละชนิด และแบบออกฤทธิ์สั้นมากควรฉีดก่อนมื้ออาหาร 15 นาที และสำหรับแบบออกฤทธิ์สั้นฉีดก่อนอาหาร 30 นาที ส่วนแบบออกฤทธิ์ปานกลาง หรือยาวนาน ควรฉีดก่อนนอน หรือก่อนทานอาหารเลย และเวลาฉีดยาควรฉีดใกล้เคียงกันในแต่ละวัน เพื่อความสม่ำเสมอของระดับน้ำตาล
การฉีดอินซูลิน มีผลข้างเคียงไหม
ในบางรายที่ฉีดอินซูลิน อาจทำให้แพ้และผดผื่นขึ้น อาจเกิดรอยนูนบริเวณที่ฉีด และบางรายอาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ ซึ่งอาจมีอาการ มือสั่น ใจสั่น หน้าซีด เหงือออก และหมดสติได้ หากมีอาการและยังคงรู้สึกตัวอยู่ ให้ตั้งสติ และหาน้ำหวานมาดื่ม ทานผลไม้ รสหวาน หรือทานข้าวเลย แต่ถ้าเกิดไม่ไหว อาการมากให้รีบไปโรงพยาบาลหรือให้ญาติ คนที่อยู่ใกล้ๆนำส่งโรงบาลทันที
อาหารกระตุ้นอินซูลิน
คนที่เป็นเบาหวาน สามารถเลือกทานอาหารเหล่านี้เพื่อปรับสมดุลของอินซูลินได้ เพื่อสุขภาพที่ดี และไม่ยอมแพ้ต่อเบาหวาน แต่อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญก่อนว่าอาการที่เป็นอยู่ สามารถทานได้มากน้อยแค่ไหน
ผักที่ไม่ใช่แป้ง เช่น
- แครอท
- ถั่วงอก
- ข้าวโพดอ่อน
- แตงกวา
- ฟัก
- กะหล่ำปลี
อาหารธัญพืช เช่น
- แครกเกอร์
- ขนมปัง
- ข้าวโพดคั่ว
- ข้าวกล้อง
- พาสต้า
- ข้าวโอ๊ตทั้งหมด
- ข้าวโพด
ผู้ป่วยมักไม่ฉีดอินซูลินกัน
ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่ค่อยมีระเบียบวินัยในการใช้อินซูลิน บ้างก็ไม่ได้ใส่ใจจะใช้โดยให้เหตุผลว่าไม่สะดวก เพราะเวลาเดินทางต้องพกใส่กระติกน้ำแข็ง บางคนกลัวเข็มบ้าง บางคนลืมบ้าง ทำให้การรักษาโรคเบาหวานมักไม่เห็นผลเท่าไหร่ การแพทย์ทางเลือกที่สะดวกและง่ายกว่าจึงค่อยๆเข้ามาแทนที่
สมุนไพรไทยอีกหนึ่งทางเลือก
การรักษาด้วยแพทย์แผนไทยกำลังเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องการความสะดวก ปลอดภัย ที่มากกว่า โดยการเลือกสมุนไพรที่มีคุณสมบัติลดน้ำตาลอย่าง เชียงดา และอบเชย ซึ่งการนำมาทำเป็นแคปซูล หรือชงกับน้ำร้อนแล้วดื่มนั้นง่ายกว่าการใช้เข็มฉีดยาวันละ 2-3 รอบมากๆ แถมยังได้ผลดี ปลอดภัย ไร้กังวัลเรื่องโรคแทรกซ้อนอีกด้วย
เราขอแนะนำ ชีวา สมุนไพรจากใบเชียงดาออร์แกนิค มีสรรพคุณช่วยลดน้ำตาล ฟื้นฟูตับอ่อน กระตุ้นอินซูลิน อีกทั้งยังปลอดภัยไร้โรคแทรกซ้อน เพราะได้รับการรับรองมาตรฐานจากสถาบันชั้นนำทั่วโลก ซึ่งผักเชียงดาที่อยู่ในแคปซูลเป็นออร์แกนิค 100% จากสวนวิสาหกิจชุมชน อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ที่ผ่านกระบวนการปลูกและผลิตอย่างพิถีพิถัน จนได้รับรางวัล ออร์แกนิค USDA จากสหรัฐอเมริกา ที่ตรวจสอบทุกๆปี