โรคแทรกซ้อนของเบาหวานเป็นสาเหตุสำคัญ
ที่จะทำให้ผู้เป็นเบาหวาน ทุพลภาพหรือเสียชีวิต ก่อนวัยอันควรและเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายของผู้เป็นเบาหวานอย่างมหาศาล การรักษาโรคเบาหวานนี้ก็เพื่อที่จะลดการเกิดโรคแทรกซ้อนเหล่านี้
โรคแทรกซ้อนจากเบาหวานมี 2 ชนิดคือ
โรคแทรกซ้อนชนิดเฉียบพลัน
เช่น ระดับน้ำตาล ในเลือดสูงหรือต่ำมากจนอาจเป็นอันตรายจน ถึงชีวิต จำเป็นต้องรับการรักษาที่โรงพยาบาล โดยด่วน
โรคแทรกซ้อนชนิดเรื้อรัง
ค่อยเป็นค่อยไปโดยอาจไม่มีอาการในระยะแรก บทความ นี้จะกล่าวเฉพาะโรคแทรกซ้อนชนิดเรื่อรังซึ่งพบ ได้บ่อยกว่า
ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงที่ไม่ได้รับการรักษา
เป็นเวลานาน ๆ จะก่อให้เกิดพยาธิสภาพของหลอด เลือดทั่วร่างกาย หลอดเลือดที่เกิดพยาธิสภาพ จากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ หลอดเลือดขนาดเล็ก ๆ ได้แก่ หลอดเลือดของ จอรับภาพของตา เป็นผลให้เกิดภาวะเบาหวานขึ้น ตาถ้ไม่ได้รับการรักษาจะทำให้เกิดตาบอด และ หลอดเลือดฝอยของไตจะเป็นผลให้เกิดภาวะ เบาหวานลงไต ถ้าไม่ได้รับการรักษาจะทำให้เกิด ไตวายอีกกลุ่มคือกลุ่มหลอดเลือด ที่มีขนาดใหญ่กว่าได้แก่ หลอดที่ไปเลี้ยงหัวใจ
จะป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน
และโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยเบาหวานอย่างไนร
โรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน
สามารถพบได้ในคนที่ไม่เป็นเบาหวานแต่ ผู้เป็นเบาหวานมีโอกาสเกิดโรคเหล่านี้มากกว่าถึง 2:3 เท่า เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค ได้แก่ ภาวะไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่ และน้ำตาลในเลือดสูง เป็นต้น
การป้องกันการเกิดโรคดังกล่าว
ต้องอาศัยการควบคุมปัจจัยเสี่ยง หลาย ๆ อย่างดังกล่าวร่วมกันคือ
ควบคุมระดับไขมัน LDL โคเลสเตอรอลให้ได้น้อยกว่า 100 มก./ดล. โดยรับประทานยาในกลุ่ม statin
ควบคุมระดับความดันโลหิตให้ไม่เกิน 130/80 มม.ปรอท หยุดสูบบุหรี่
ควบคุมระดับน้ำตาลสะสม HbA1c ไม่ให้เกิน 7.0 หรือ 7.5% และในผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในการเกิดโรค เช่น อายุมากและมีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง อาจจะพิจรณาให้รับประทานยา aspirin ขนาด 81 มก. เพื่อป้องกันการเกิดโรคร่วมด้วย