เด็กเป็นเบาหวานได้ด้วยหรือ ?
ส่วนใหญ่อาจไม่ค่อยคุ้นเคยกับคนเป็น โรคเบาหวานในเด็ก และวัยรุ่น จนอาจสงสัยว่าเด็กและวัยรุ่น (อายุน้อยกว่า 20 ปี) เป็นเบาหวานได้ด้วยหรือ เด็กที่เป็นเบาหวานเนื่องมาจากขาดอินชูลินหรือการออกฤทธิ์ของอินซูลินไม่ตีเนื้อเยื่อต่าง ๆ ใช้น้ำตาลไม่ได้ จึงทำให้น้ำตาลในเลือดสูงชนิดของเบาหวานที่พบในเด็ก อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเบาหวาน
เบาหวานที่พบในเด็กและวัยรุ่นสมารถจำแนกได้เป็น 3 ชนิดคือ
เบาหวานชนิดที่ 1 เป็นโรคทางภูมิคุ้มกันชนิดหนึ่ง
กล่าวคือร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นต่อต้านตนเอง (autommune) แล้วภูมิคุ้มกันนี้ได้ไปทำลายตับอ่อนที่ละน้อย ๆ จนไม่สามารถสร้างอินชูสิได้ในที่สุดเบาหวานชนิดนี้เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุดในเด็กและวัยรุ่น สามารถคิดเป็น (ประมาณร้อยละ 70 ของผู้เป็นเบาหวานที่เป็นเด็กและวัยรุ่น)
เบาหวานชนิดที่ 2 เป็นแบบเดียวกับเบาหวานที่พบมากในผู้ใหญ่
ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญได้แก่ภาวะอ้วนและมักมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน
เบาหวานที่เกิดจากยาหรือการติดเชื้อบางชนิด เช่น
เด็กที่กินยาสเตียรอยปริมาณมากและติดต่อกันเป็นระยะนาน จะมีอาการหน้าบวม ตัวกลม ระดับน้ำตาลใน เลือดสูง เป็นต้น
เบาหวานชนิดที่ 1
ยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน มีสมมุติฐานว่ามีปัจจัยเสี่ยงด้านพันธุกรรมบางอย่าง ร่วมกับมีปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมมากระตุ้นการ สร้างภูมิคุ้มกันต่อต้านตับอ่อนตนเอง ปัจจุบันยังไม่สามารถระบุถึงปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวได้อย่างชัดเจนแต่มีการศึกษาว่าอาจเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อบางชนิด หรือการที่สมดุลจุลินทรีย์ในร่างกายเปลี่ยนแปลไป จนส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันและตับอ่อนในที่สุด
อาการ
สำหรับอาการของ โรคเบาหวานในเด็กและวัยรุ่น เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงน้ำตาลถูกขับออกมาทางปัสสาวะ อาจมีประวัติปัสสาวะมีมดตอมมีปัสสาวะบ่อยและเยอะ หรือมีปัสสาวะรดที่นอนในวัยที่ไม่สมควรเมื่อร่างกายเสียน้ำมาก จึงมีอคารกระหายน้ำบ่อยผิดปกติ และเนื่องจากร่างกายนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานไม่ได้ จึงมีอาการอ่อนเพลียกินจุ หิวบ่อย น้ำหนักลด และหากไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง ก็อาจมีเลือดเป็นกรดและคีโตนคั่ง เราเรียกภาวะนี้ว่า “ดีเคเอ” (DKA; Diabetic ketoacidosis) ซึ่งเป็นภาวะที่ฉุกเฉิน บางคนอาจอาเจียน ปวดท้อง หายใจหอบหรืออาจหมดสติ ซึ่งต้องการรักษาอย่างเหมาะสมโดยรีบด่วน
เบาหวานในเด็ก ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่เราเพียงขาดความเข้าใจอย่างถูกต้อง
การรักษา
การรักษาเด็กกลุ่มนี้คือต้องได้รับอินซูลินทดแทน ซึ่งในปัจจุบันเป็นต้องได้รับอินซูลินโดยรูปแบบฉีดเท่านั้น มีความพยายามผลิตอินซูลินในรูปแบบอื่น ๆ เช่นรับประทาน หรือแบบพ่นทางปาก แต่พบว่าได้ผลไม่ดีเนื่องจากอินซูลินถูกทำลายได้ง่ายในกระเพาะอาหาร ผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 จำเป็นต้องฉีดอินซูลินวันละอย่างน้อย 3-4 ครั้ง ทุก ๆ วันไปตลอดชีวิต และตรวจน้ำตาลปลายนิด้วยตนเอง รวมถึงมีการพัฒนาเครื่องมือสำหรับเดินยาอินซูลินแบบต่อเนื่องไต้ผิวหนัง ปัจจุบันได้มีการคิดค้นการรักษาอื่น ๆ เช่น ตับอ่อนเทียม (artificial pancreas) ซึ่งจะอาศัยองค์ประกอบ 3 อย่างได้แก่ เครื่องให้อินซูลินแบบต่อเนื่อง (insulin infusion pump) เครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลต่อเนื่อง (continuous glucose sensor) และระบบประมวลผล วิเคราะห์ข้อมูลและคำนวณการให้อินชูลิน
ปัจจุบันเทคโนโลยีดังกล่าวใช้ในวงจำกัดในโครงการวิจัย ยังไม่ได้นำมาใช้ในผู้เป็นโดยทั่วไป สำหรับการปลูกถ่ายตับอ่อนและเบต้าเซลล์ เป็นความก้าวหน้าหนึ่งในการหาวิธีการรักษาเบาหวานให้หายขาด อย่างไรก็ตามเมื่อติดตามไประยะยาวผู้เป็นเบาหวานส่วนใหญ่ไม่สามารถหยุดยฉีดอินซูลินอย่างถาวรได้ และจำเป็นต้องได้รับยากดภูมิคุ้มกันระยะยาว
นักวิจัยทั่วโลกมีความพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะพัฒนาเซลล์ซึ่งสามารถรับอินซูลิได้จากแหล่งอื่น ๆ เช่นจากเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด (stem cells) ซึ่งยังอยู่ในการศึกษาวิจัยการจัดอาหารสำหรับ ผู้เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 จะไม่จำกัดพลังงานมากเหมือนกับผู้เป็นโรคเบาหวานชนิด 2 เนื่องจากผู้เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 มักจะผอมอยู่แล้วแนะนำให้รับประทานอาหารตามปกติที่ต้องการตามวัย โดยสัดส่วนพลังานจากคาร์โบไฮเดรตอยู่ที่ร้อยละ 50 ของพลังงานทั้งหมดที่ได้รับในหนึ่งวัน และเลือกคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ทำให้น้ำตาลในเลือดขึ้นเร็วหรือขึ้นสูง(มีค่า glycemic index ต่ำ) เช่น ควรรับประทานอาหารจำพวกคาร์โบไฮเตรตจากข้าวหรือธัญพืชที่ไม่ขัดสี หลีกเลี่ยงการรับประทานคารโบไฮเตรตจากขนมหวาน เป็นต้น นอกจากนี้ผู้เป็นเบาหวานควรหลีกเลี่ยงอาหารที่เค็มจัด หรือมีไขมันสูงเกินไป เป็นต้น
เบาหวานชนิดที่ 2
ปัจจุบันเบาหวานชนิดที่ 2 เริ่มเป็นกันมากขึ้นเรื่อย ๆ ในเด็กวัยรุ่นที่มีภาวะอ้วน ทั้งนี้เนื่องจากอุบัติการณ์ของโรคอ้วนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในทุกช่วงวัย รวมถึงเด็กและวัยรุ่นด้วยเด็กวัยรุ่นที่มีภาวะอ้วน ทั้งนี้เนื่องจากอุบัติการณ์ของเบาหวานชนิดที่สองนี้ ตับอ่อนยังสร้างอินซูลินได้ แต่เนื่องจากร่างกายอ้วนมาก เลยตื้อต่ออินซูลิน ทำให้อินซูลินออกฤทธิ์ได้ไม่พอเพียงอย่างไรก็ตาม เบาหวานชนิดที่ 2 นี้ป้องกันได้ด้วยการลดน้ำหนักออกกำลังกาย ควบคุมอาหารให้ดี ซึ่งอาจช่วยให้สามารถควบคุมน้ำตาลได้ โดยไม่ต้องใช้ยาฉีดหรือยรับประทาน การเฝ้าติดตามการเจริญเติบโตของเด็กรีบวินิจฉัยและรักษาโรคอ้วนจึงเป็นสิ่งที่สำคัญในการป้องกันเบาหวานชนิดที่ 2โดยเฉพาะในเด็กที่มีประวัติครอบครัวเป็นเบาหวาน
กำลังใจนับเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาเบาหวานในเด็ก
กำลังใจจากพ่อแม่ของผู้ป่วย เพื่อน และคุณครูกล้าเปิดเผยว่าตนเองเป็นเบาหวาน มีผู้เป็นเบาหวานตั้งแต่เด็กจำนวนมากที่สามารถใช้ชีวิตจนประสบความสำเร็จ เช่น เป็นแพทย์ เป็นวิศวกร หรือศึกษาสำเร็จระดับปริญญาเอก
การเป็นโรคเบาหวานยังทำให้เด็กมีระเบียบวินัยในการดูแลตนเอง ซึ่งจะเป็นผลดีต่อสุขภาพเด็กในระยะยาวในกรณีที่ผู้เป็นเบาหวานเด็กรู้สึกโดดเดี่ยว การได้เข้าร่วมกิจกรรมออกค่ายร่วมกับผู้เป็นโรคเดียวกันหรือทำกิจกรรมกับชมรมเครือข่ายผู้เป็นเบาหวาน จะช่วยปรับทัศนคติของเด็ก และได้รับความรู้และกำลังใจในการดูแลเบาหวานอย่างถูกต้อง
ผู้สนใจสามารถติดตามรายละเอียด
ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ website หรือ Facebook สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพะเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี